การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

4 สารเคมี รวมถึงการเลี้ยงจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงที่ไม่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีการควบคุมค่ามาตรฐานการระบายน้ำทิ้งที่เหมือนกัน เพราะค่ามาตรฐานควบคุมการ ระบายน้ำทิ้งอาจสร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ปัญหาด้านการแก้ไขเรื่องกลิ่นของกุ้งทะเลที่เหลือจากการจับแล้วตายในบ่อก่อให้เกิดกลิ่น ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพของชุมชนท้องถิ่น กระบวนการเลี้ยงกุ้งถูกควบคุมโดยพระ ราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ตั้งแต่กระบวนการแจ้งการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดย ต้องแจ้งการประกอบกิจการก่อนจะปล่อยกุ้งทะเลตามประกาศกรมประมง เรื่อง “ข้อกำหนดให้ผู้ ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลซึ่งเป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมภายในเขตเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ ตามมาตรา 77 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องแจ้งการประกอบกิจการ พ.ศ. 2562” รวมถึงในระหว่างเลี้ยงไปจนถึงการระบายน้ำทิ้งเพื่อจับกุ้งทะเล ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ ได้แก่ ห้ามใช้ยาและเคมีภัณฑ์ และต้องจัดการน้ำทิ้งหรือของเสียจากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล รวมถึงต้อง ดำเนินการป้องกันน้ำจากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมิให้รั่วไหลออกสู่บริเวณภายนอกพื้นที่ประกอบ กิจการ ซึ่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และประกาศดังกล่าวอยู่ภายใต้หน้าที่และอำนาจ ของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่เข้ามาดูแลตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางของ การเลี้ยงกุ้งทะเลเพื่อควบคุมการเลี้ยงกุ้งทะเลมิให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกมิติและสามารถ อยู่รวมกันกับชุมชนได้ แต่ไม่ปรากฏอำนาจหน้าที่ของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใน การแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของกุ้งที่ตายในบ่อหลังจับกุ้งทะเล ทั้งที่พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 78 (7) บัญญัติให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจกำหนดเรื่องอื่นใดที่จำเป็นในการป้องกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตรายต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจการของบุคคลอื่นได้ แต่ไม่ปรากฏ ประกาศที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นดังกล่าว เมื่อไม่มีประกาศที่ออกโดยอธิบดีกรมประมงใน เรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของกุ้งที่ตายในบ่อหลังจับกุ้งทะเล ทำให้กรมประมง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ไม่มีอำนาจดำเนินการแก้ไขหรือควบคุมปัญหาเรื่องกลิ่นไปโดยปริยาย หากมีปัญหาเรื่อง กลิ่นเกิดขึ้นต้องไปอาศัยพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ในกรณีที่มีเหตุรำคาญอันอาจ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้องประสบกับเหตุการณ์กระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ (ตามมาตรา 25) ซึ่งให้ อำนาจเจ้าพนักงานท้องถิ่น (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) มีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อให้เกิดเหตุ รำคาญรวมทั้งให้ระงับเหตุรำคาญด้วย (มาตรา 26) เป็นอำนาจและหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเรื่องของ กลิ่นที่เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญโดยทั่วไป มิได้เฉพาะเจาะจงกับปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากกุ้งที่ตายในบ่อ หลังจับกุ้งทะเล เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักมุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นที่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3