การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

5 เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญให้สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นอาจไม่มีความเข้าใจหรือความรู้ เฉพาะด้านเกี่ยวกับกุ้งทะเล ดังนั้นหากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ หน้าที่คอยควบคุมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางของการเลี้ยงกุ้งทะเล จะทำให้สามารถ กำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการบริหารจัดการและวางระบบ เพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไข ปัญหาเรื่องกลิ่นดังกล่าวที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้งทะเล และจะทำให้การเลี้ยงกุ้งบริเวณใกล้เคียงก็ สามารถดำเนินการต่อไป ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน จากสภาพปัญหาในเรื่องของการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้งทะเลดังกล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจะศึกษามาตรการทางกฎหมายกรณีควบคุมผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล เพื่อนำไปสู่การควบคุมและลดผลกระทบที่มีต่อ พื้นดิน แหล่งน้ำสาธารณะ และกลิ่นกุ้งที่ตายรวมถึงอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบ เพื่อ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน ท้องถิ่น สังคม และสิ่งแวดล้อมต่อไป 1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.2.1 เพื่อศึกษาปัญหาการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยง กุ้งทะเล 1.2.2 เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการ ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบ 1.2.3 เพื่อศึกษากฎหมายไทยและต่างประเทศกับการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิด จากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล 1.2.4 เพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล เพื่อลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 1.3 คำถามวิจัย กฎหมายที่บังคับใช้ควบคุมผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมวางหลัก ไว้อย่างไร และกำหนดค่ามาตรฐานการควบคุมของหน่วยงานภาครัฐมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ควรเป็นหน้าที่ของหน่วยงานใด และการควบคุมมิให้มลพิษน้ำเสียไหลลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะและกลิ่น ของกุ้งตายที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้งทะเลมีวิธีการอย่างไร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3