การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
6 1.4 สมมติฐานของการวิจัย การกำหนดค่ามาตรฐานที่ควบคุมระบายน้ำทิ้งจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลก่อให้เกิด มลพิษและแพร่กระจายไปสู่แหล่งน้ำสาธารณะและพื้นดินในบริเวณใกล้เคียง ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ซึ่งกฎหมายและประกาศที่ออกมาบังคับใช้ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติของผู้ประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้งทะเลมีความแตกต่างกัน รวมทั้งอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบด้านควบคุมมลพิษ ทางกลิ่นที่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนมีปัญหาและอุปสรรค จำเป็นต้องปรับปรุงและแก้ไข มาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ด้วยการกำหนดเงื่อนไขให้เป็น แนวทางปฏิบัติเดียวกันเพื่อลดมลพิษน้ำเสียจากการเลี้ยงกุ้ง และกำหนดอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน รัฐผู้รับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการเลี้ยงกุ้งทะเล อย่างยั่งยืน 1.5 ขอบเขตของการวิจัย งานวิจัยกำหนดขอบเขตครอบคลุมแต่ละด้าน ดังนี้ 1) ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับรูปแบบวิธีเลี้ยงกุ้งทะเล แนวคิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลักการควบคุมและลดมลพิษสิ่งแวดล้อม แนวคิดว่าด้วยรัฐและ อำนาจหน้าที่รัฐ แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน กฎหมายไทยและต่างประเทศ 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลกำหนดไว้ คือ ในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัด สงขลา เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดกับทะเลอ่าวไทย ที่มีพื้นที่เลี้ยงกุ้งทะเลจำนวนมาก และมีพื้นที่ติดกับ ทะเลสาบสงขลา รวมทั้งเป็นพื้นที่ที่มีการทำการเกษตรประเภทอื่นด้วย 3) ขอบเขตด้านผู้ให้ข้อมูลหลัก ในการเก็บรวบรวมในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่ม ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งทะเล ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยง กุ้งทะเล ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้นำชุมชน รวม 10 คน 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย 1.6.1 ได้แนวทางการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้ง ทะเล 1.6.2 ได้ทราบถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานรัฐผู้รับผิดชอบเกี่ยวกับการควบคุมผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3