การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
9 ธรรมชาติแล้ว ยังไม่ร้ายแรงเท่ากับการกระทำของมนุษย์ และ เกษม จันทร์แก้ว (2527, น. 205) ได้ ให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมว่า หมายถึง สิ่งของทุกอย่างบนพื้นโลก รวมไปถึงจักรวาลเป็นทั้ง ของแข็ง ของเหลว ก๊าซ สารเคมี มนุษย์ สัตว์ ดิน หิน แร่ ต้นไม้ สิ่งก่อสร้าง บ้านเรือน โรงเรียน วัด ชุมชน เมือง วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ เป็นต้น อีกทั้งสมพงษ์ อรพินท์ (2527, น. 505) ได้ให้ความหมายของสิ่งแวดล้อมว่าคือ สภาพที่เป็นอยู่รอบตัวเรา ได้แก่ สิ่งที่มีชีวิต และสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งที่เป็นรูปแบบคือ สิ่งที่มองเห็นจับต้องได้ และสิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น แบบ แผน ประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อ เป็นต้น อีกทั้งติน ปรัชญพฤทธิ์ (2534, น. 70) ได้กล่าวว่า สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีอิทธิพลต่ออินทรีย์ สิ่งแวดล้อมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ แสงแดด ป่าไม้ สัตว์ เป็นต้น สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินี้บางชนิดอาจใช้เวลานานนับร้อยนับพันปี แต่บางชนิดอาจใช้เวลา เพียงชั่วโมงเดียวหรือเพียงวันเดียวก็สามารถเกิดขึ้นได้ 2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ (วินัย วีระวัฒนานนท์. 2532, น. 86) ใน ขณะเดียวกันมีนักวิชาการให้แนวคิดที่เหมือนกันหรือสนับสนุนว่าสิ่งแวดล้อมมี 2 ประเภท คือ 1) สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หมายถึง สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น อากาศ แม่น้ำ ดิน แร่ธาตุ ภูเขา ป่าไม้และสัตว์ เป็นต้น 2) สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่นบ้านเรือน อาคารสถานที่ต่าง ๆ โรงเรียน ถนน รถยนต์ เขื่อนเก็บน้ำ ตลอดจน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม ระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม จากความหมายของสิ่งแวดล้อมที่ได้กล่าวมาสรุปได้ว่าสิ่งแวดล้อม คือทุกสรรพสิ่งไม่ว่า จะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ หรือมนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น ทั้งในลักษณะรูปธรรมและนามธรรม ประเภทของ สิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สิ่งที่ไม่สามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้สร้างไว้ และ 2) สิ่งที่ สามารถระบุได้ว่าใครเป็นผู้สร้าง จากประเภทของสิ่งแวดล้อมจะเห็นได้ว่าทุกสรรพสิ่งก็คือสิ่งแวดล้อม 2.1.2 ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งแวดล้อม ล้วนแต่เกิดขึ้นจากการกระทำของ มนุษย์ ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติต้องเสื่อมโทรมลง เกิดผลกระทบ เกิดมลพิษในรูปแบบต่าง ๆ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมี นักวิชาการหลายท่านได้ศึกษาและอธิบายผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไว้ ได้แก่ สุนีย์ มัลลิกะมาลย์ (2542, น. 6) ได้กล่าวว่า ในอดีตสิ่งแวดล้อมเคยมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เปรียบประหนึ่งว่าไม่มีหมดไป จากโลกนี้ จึงมีการนำมาใช้ประโยชน์กันมากมายและใช้กันอย่างฟุ่มเฟือย มุ่งแต่จะฉกฉวยเอา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3