การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
10 ประโยชน์จากสิ่งแวดล้อมโดยไม่ดูแลรักษาให้คงอยู่ จึงทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การหมดสิ้นไปของทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพที่เสื่อมโทรมไปจนกระทั่งพันธุ์ไม้ บางชนิด สัตว์น้ำบางชนิดได้สูญพันธุ์ไป และมลพิษต่าง ๆ ทั้งอากาศเป็นพิษ น้ำเป็นพิษ ขยะล้นโลก สุดท้ายแล้วผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม คือมนุษย์ ทั้งที่เกิดขึ้นโดยตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจ เช่นโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน้ำเสียสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เกษตรกรใช้สารเคมีในการ กำจัดศัตรูพืช การประกอบอาชีพต่าง ๆ ที่ใช้สารเคมี และ อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์ (2549, น. 35) ได้ กล่าวว่า ปัญหาสิ่งแวดล้อม หมายถึง ความเสื่อมสลายในเชิงปริมาณและคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทั้งที่ เป็นสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางชีวภาพ ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยมีสาเหตุมาจาก การกระทำของมนุษย์ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วธรรมชาติจะมีระบบหรือกลไกของการฟื้นตัวได้เอง ในกรณีที่ สภาวะของธรรมชาติเสื่อมสลายหรือเปลี่ยนไปตามปกติ แต่หากความเปลี่ยนแปลงไปมากเกินกว่า ประสิทธิภาพเยียวยา ย่อมทำให้ธรรมชาติและระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป สาเหตุของปัญหา สิ่งแวดล้อม เช่น การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยี ในขณะเดียวกันได้มีนักวิชาการที่แสดงความเห็นในเรื่องของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact) คือ สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่หรือการจับกลุ่มใหม่ของสิ่งแวดล้อม ทั้งที่ มนุษย์สร้างขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ มีผลทำให้สิ่งแวดล้อมเดิมหรือสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ได้รับ ความกระทบกระเทือน จนมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ผลกระทบนั้นเป็นอะไรก็ได้ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะทำให้คุณภาพชีวิต ทั้งหลาย และคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในบริเวณนั้นได้รับผลกระทบกระเทือนในระยะเวลาที่แตกต่าง กัน เช่น ผลกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้ ผลกระทบต่อทรัพยากรน้ำ ผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ผลกระทบต่อทรัพยากรดิน ผลกระทบทางด้านสังคม เป็นต้น (เกษม จันทร์แก้ว. 2525, น. 194) ดังนั้น สรุปได้ว่า สิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์เป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นในทุกรูปแบบ ซึ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมีทั้งแบบที่เห็นได้ ทันที กับแบบที่สะสมไปในระยะยาว สุดท้ายแล้วผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจะย้อนกลับมาทำร้าย มนุษย์ ฉะนั้นมนุษย์ควรให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหา หรือหาวิธีการไม่ให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม 2.1.3 ผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งทะเลต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาเรื่องการศึกษาคุณภาพน้ำทิ้งจากการเลี้ยงกุ้งขาวในระบบปิดในพื้นที่ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี โดยกรกวี ศรีอินทร์ (2559, น. 48-49) พบว่า คุณภาพน้ำทิ้งจากการ เลี้ยงกุ้งขาว เมื่อถึงช่วงระบายน้ำทิ้งก่อนจับกุ้งเพื่อจำหน่ายมีค่าเฉลี่ย บีโอดี สารแขว นลอย
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3