การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
11 แอมโมเนียไนโตรเจน ฟอสฟอรัสรวม เกินกว่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดทั้งสิ้น และอนงค์นาถ โรจนกร วังคำหาญ, สินีนาถ จักรแก้ว และ เสาวลักษณ์ อุทานิตย์ (2020, น. 39-43) ได้อธิบายว่าจาก การศึกษาเรื่องคุณภาพน้ำเสียจากการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในฟาร์มขนาดเล็กในพื้นที่บ้านตูม ตำบลบัว บ้าน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยผลการศึกษาพบว่าการเลี้ยงกุ้งในบ่อที่มีพื้นที่น้อยกว่า10 ไร่ มีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีพื้นที่ในการเลี้ยงจำนวนมากโดยน้ำเสียจากฟาร์มกุ้งที่ถูกถ่ายลงสู่ สิ่งแวดล้อมมักจะเป็นน้ำที่ไม่ได้ผ่านการบำบัด โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) เฉลี่ยที่ 9.42 ซึ่ง เกินกว่าค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ในขณะเดียวกันสำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุม มลพิษ (2554, น. 4) ได้อธิบายว่าการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจกรรมหนึ่งที่หากมีการจัดการที่ไม่ ถูกต้อง สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ โดยก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและความเสื่อม โทรมของระบบนิเวศชายฝั่งและคุณภาพน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการระบายน้ำทิ้งที่มีสารอาหารสูงสู่ สิ่งแวดล้อม ซึ่งสารอาหารดังกล่าวเกิดขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากของเสียที่กุ้งขับถ่ายออกมา อีกส่วนหนึ่ง เป็นสารอาหารที่กุ้งไม่ได้กินหรือกินไม่หมด ในช่วงจับกุ้ง เกษตรกรจะต้องสูบน้ำออกจากบ่อเลี้ยง ทั้งหมดเพื่อให้สามารถจับกุ้งได้หมดในคราวเดียวกัน โดยเกษตรกรบางรายจะนำน้ำทั้งหมดไปเก็บไว้ ในบ่อพักน้ำ ก่อนที่จะปรับปรุงคุณภาพน้ำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและดำรงชีวิต ของกุ้งและนำกลับมาใช้ใหม่หรือระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม หากเกษตรกรรายใดไม่มีบ่อพักน้ำและไม่ ต้องการเก็บน้ำดังกล่าวเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เกษตรกรจะระบายน้ำดังกล่าวลงสู่สิ่งแวดล้อมโดยไม่ได้ มีการดำเนินการใด ๆ อีกทั้งสมศักดิ์ มณีพงศ์, สายัณห์ สดุดี, เชาวน์ ยงเฉลิมชัย และ อัจฉรา เพ็งหนู (2542, น. 13-14) ได้อธิบายว่าการเลี้ยงกุ้งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 1) การทำลาย ป่าชายเลน พื้นที่ป่าชายเลนลดลง ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่างหนึ่งที่อาจเห็นได้ อย่างเป็นรูปธรรมในเขต อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จาก 97,188 ไร่ ในปี พ.ศ. 2509 เหลือเพียง 53,875 ไร่ ในปี 2534 2) การแพร่กระจายของน้ำเค็มไปยังบริเวณใกล้เคียง ทำให้การ เพาะปลูกเสียหาย ไม้ยืนต้นของเกษตรกรเสียหายจำนวนมาก เช่น พื้นที่ในเขต อำเภอหัวไทร จังหวัด นครศรีธรรมราช ได้รับความเสียหายประมาณ 14,934 ไร่ พื้นที่ในอำเภอระโนดได้รับความเสียหาย ประมาณ 28,120 ไร่ เป็นต้น ซึ่งได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาว่า เกิดจากการก่อสร้างคันบ่อเลี้ยงกุ้ง ไม่แข็งแรงพอ ทำให้น้ำเค็มรั่วซึมไปยังนาข้าว และเกิดจากผู้เลี้ยงกุ้งบางรายลักลอบปล่อยน้ำลงสู่ แหล่งน้ำสาธารณะ 3) การแพร่กระจายของน้ำเค็มไปยังแหล่งน้ำจืดธรรมชาติและบ่อผิวดิน ทำให้ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เลี้ยงกุ้งและบริเวณใกล้เคียงไม่สามารถใช้น้ำเพื่ออุปโภคได้ เนื่องจากมี รสเค็ม ขุ่น และมีกลิ่นเหม็น ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำเป็นต้องซื้อน้ำจืดมาใช้ในครัวเรือน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3