การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
12 ผลกระทบจากการเลี้ยงกุ้งทะเลต่อสิ่งแวดล้อมยังมีนักวิชาการอีกหลายได้ให้ความเห็น สนับสนุนว่าการเลี้ยงกุ้งทะเลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร ได้แก่อาคม ศิริพันธุ์ (2541, น. 36- 46) ได้อธิบายว่าจากการศึกษาการเลี้ยงกุ้ง พบว่าได้การเลี้ยงกุ้งเกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ผลกระทบต่อน้ำ การเลี้ยงกุ้งส่งผลกระทบต่อสภาพของน้ำ เดิมสภาพของน้ำในบริเวณที่มี พื้นดินสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ได้ โดยเฉพาะสามารถทำนาข้าวได้ ส่วนน้ำในทะเลใสส ะอาด ไม่มี สารพิษเจือปน แต่ปัจจุบันสภาพน้ำชายฝั่งได้มีส่วนผสมของดินเค็ม ไม่สามารถนำไปปลูกพืชได้ สภาพ น้ำในคูคลองธรรมชาติมีความเค็มอยู่ในระดับสูง น้ำทะเลมีลักษณะสกปรกขุ่นข้น และปนเปื้อนด้วย เชื้อโรค ซึ่งมีสาเหตุมาจากการไหลซึมของน้ำจากบ่อเลี้ยงกุ้ง และเจ้าของบ่อกุ้งปล่อยน้ำจากบ่อกุ้งสู่ แหล่งน้ำสาธารณะ รวมทั้งน้ำในทะเลสกปรกมีเชื้อโรค และสารพิษ เนื่องจากผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้ง ปล่อยน้ำทิ้งลงสู่ทะเลโดยมิได้บำบัดน้ำก่อน และผู้เลี้ยงกุ้งบางรายได้ทำความสะอาดพื้นบ่อด้วยการฉีด ดินเลน และปล่อยลงสู่ทะเลโดยตรง จึงทำให้น้ำทะเลสกปรก ปนเปื้อนด้วยสารเคมี 2) ผลกระทบต่อ ดิน การเลี้ยงกุ้งส่งผลกระทบต่อคุณภาพของดิน เดิมดินอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าว พืชผัก ต้นตาล ต้นมะพร้าว เป็นต้น แต่ปัจจุบันคุณภาพดินต่ำไม่สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจได้ เช่น ข้าว ต้นตาล เป็นต้น สาเหตุเกิดจากการนำน้ำทะเลซึ่งเป็นน้ำเค็มไปใช้ในการเลี้ยงกุ้ง 3) ผลกระทบต่อ พืช พืชพันธุ์ชายฝั่งถูกทำลายอันเนื่องมาจากการเลี้ยงกุ้ง ทำให้สภาพของน้ำจืดที่เคยใช้หล่อเลี้ยงพืช พันธุ์โดนน้ำเค็มเข้าไปทำลาย และผสมให้มีความเค็มขึ้น จนทำให้พืชซึ่งไม่ทนต่อน้ำเค็มตายไปในที่สุด 4) ผลกระทบต่อสัตว์น้ำชายฝั่ง สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสัตว์น้ำชายฝั่ง เนื่องมาจาก การปล่อยน้ำเสียจากบ่อกุ้ง ทำให้มีเศษอาหารต่าง ๆ ไหลออกมากับน้ำด้วย จึงทำให้ชายฝั่งมีอาหารที่ สัตว์น้ำบางชนิดชอบ เช่น หอยชนิดต่าง ๆ ปลากระบอก เป็นต้น ประกอบกับชายฝั่งเกิดมีโคลนตม มากขึ้น ปลาบางชนิดไม่ชอบสภาพน้ำที่มีโคลนตมก็หนีไปแหล่งอื่น 5) ผลกระทบต่อสัตว์น้ำจืด เมื่อน้ำ จืดถูกน้ำเค็มเข้าไปแทนที่ ทำให้สัตว์น้ำจืดไม่สามารถอาศัยอยู่ได้จนทำให้สัตว์น้ำจืดตายไปในที่สุด อีก ทั้งรพีพรรณ สุวรรณัฐโชติ และสมพร เฟื่องจันทร์ (2537, น. 11-13) ได้กล่าวว่า ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยง กุ้งนักธุรกิจเลี้ยงกุ้งทำให้ที่ดินในบริเวณนั้นมีราคาสูงขึ้นหลายเท่าตัว ทำให้ราษฎรในพื้นที่นั้นได้ขาย พื้นที่ของตนไปก็มีการเลี้ยงกุ้งเยอะขึ้น ซึ่งทำให้น้ำเค็มจากการเลี้ยงกุ้งแพร่กระจายเข้าไปยังพื้นที่นา ข้าวที่อยู่ใกล้เคียง นาข้าวได้รับความเสียหาย ไม่สามารถปลูกข้าวได้ หรือปลูกได้แต่ผลผลิตลดลง ซึ่ง ต้นเหตุก็มาจากการถ่ายเทน้ำที่ต้องมีการระบายน้ำเสียออกจากบ่ออยู่เสมอเพื่อเร่งการเจริญเติบโต และเมื่อกุ้งโตได้ขนาดจำหน่ายก็จะปล่อยน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งทั้งหมด ซึ่งการปล่อยน้ำออกจากบ่อกุ้งส่วน ใหญ่จะกระทำโดยปราศจากการควบคุม และไม่ได้ผ่านกระบวนการบำบัดน้ำเสีย หากบ่อเลี้ยงกุ้งอยู่ ใกล้ทะเลก็ปล่อยน้ำเสียลงทะเล หากอยู่ใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติอื่น เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง และ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3