การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

14 2.2 แนวคิดว่าด้วยรัฐและอำนาจหน้าที่รัฐ 2.2.1 ทฤษฎีว่าด้วยรัฐ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐ คือ การที่สังคมมนุษย์เริ่มต้นจากการอยู่ร่วมกันอย่างกระจัดกระจาย เป็นครอบครัว และเมื่อหลายครอบครัวได้มาอาศัยอยู่ร่วมกันก็กลายเป็นชุมชน เพราะมนุษย์เห็นว่า การอาศัยอยู่ร่วมกันหลาย ๆ ครอบครัวมีความปลอดภัยมากกว่า ซึ่งมีความสามารถและแข็งแกร่ง ที่สุดจะกลายเป็นผู้นำชุมชน เมื่อสังคมใหญ่ขึ้นเริ่มมีการก่อสร้างเมือง สร้างสิ่งประดิษฐ์ สิ่งปลูกสร้าง ผู้นำชุมชน โดยเป็นผู้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้ประชาชนปฏิบัติตาม และมีอำนาจใช้บังคับกฎเกณฑ์ นั้น ๆ ด้วย ซึ่งหากผู้ปกครองมีคุณธรรม สังคมจะสงบสุข ดังนั้นนอกจากรัฐจะมีอำนาจเหนือ ประชาชนแล้ว รัฐยังต้องมีองค์กรของรัฐ มีสถาบันการเมืองของรัฐในการใช้อำนาจ ซึ่งแนวคิดในการ กำเนิดรัฐสามารถจำแนกได้ 3 ประการ ได้แก่ 1) รัฐเกิดจากพันธสัญญาประชาคม 2) รัฐเกิดจากความ ขัดแย้ง และ 3) รัฐเป็นผลของแนวคิดการจัดการสร้างสถาบัน (สุวิทย์ ปัญญาวงค์. 2563, น. 103- 110) ในขณะเดียวกันมีนักวิชาการของต่างประเทศได้กล่าวถึงทฤษฎีว่าด้วยรัฐ ได้แก่ นิคโคโล แมค เคียเวลลี่ ทฤษฎีว่าด้วยรัฐ คือในสังคมบรรพกาลก่อนเกิดรัฐสมัยใหม่ มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม แต่ ละสังคมจะมีหัวหน้าเป็นผู้ปกครอง อำนาจในการปกครองสังคมเป็นอำนาจของผู้ปกครอง และเป็น อำนาจที่ติดอยู่กับตัวบุคคล อำนาจรัฐหรืออำนาจทางการเมือง เป็นอำนาจที่อยู่เหนือสังคมหรือ ประชาชนในรัฐ เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองสังคม อำนาจทางการเมืองจากเดิมที่ติดอยู่กับตัว บุคคลก็กลายมาเป็นอำนาจรัฐที่เป็นนิรันดร์ หรือที่เรียกว่า อำนาจอธิปไตย รวมทั้งได้ให้ความหมายว่า รัฐ เป็นสถาบันของอำนาจการเมืองซึ่งยังคงปะปนอยู่กับตัวของผู้ปกครอง อย่างไรก็ตาม การ ก่อกำเนิดรัฐนั้นยังเป็นปริศนาที่ลึกลับและมีการตั้งสมมติฐานในเรื่องดังกล่าวจากนักปรัชญาหลายท่าน ด้วยกัน บางท่านก็กล่าวว่ารัฐนั้นเป็นผลจากการทำพันธสัญญา บางท่านก็กล่าวว่า รัฐนั้นเกิดจาก ความขัดแย้ง และความสัมพันธ์แห่งการใช้กำลัง รวมทั้งอาจเกิดจากการจัดการสถาบัน (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒนาวัฒน์. 2561, น. 73) คำว่ารัฐ เป็นคำที่มีความเก่าแก่ เป็นคำที่ใช้สื่อความหมายในสิ่งที่เป็นที่รู้จักและมี การศึกษากันมาอย่างยาวนาน ในสมัยกรีกใช้คำว่านครรัฐ ก็เนื่องมาจากรัฐมีขอบเขตจำกัดอยู่เพียง ขอบเขตของนคร ซึ่งแต่ละนครก็จะสามารถพึ่งตนเองด้วยความเป็นเอกเทศจากกัน ในปัจจุบันมีความ พยายามจำกัดคำว่ารัฐ โดยเทียบเคียงจากองค์ประกอบของรัฐตามความหมายของกฎหมายระหว่าง ประเทศ ซึ่งหมายถึง ระบอบการปกครองหรือระบบแห่งการใช้อำนาจ หรือหน่วยทางการเมืองที่มี ลักษณะถาวรของประชาคมมนุษย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง บนพื้นที่ที่มีอาณาเขตบริเวณแน่นอน ภายใต้ อำนาจสูงสุดอำนาจหนึ่ง เพื่อบรรลุภารกิจร่วมกันของประชาคมมนุษย์นั้น ๆ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงสร้าง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3