การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

15 ดังกล่าว เป็นครอบครัวสมาชิกทั้งหลายในประชาคม (บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. 2563, น. 269-271) และ จันตรี สินศุภฤกษ์ (2562, น. 73) รัฐในความหมายปัจจุบัน คือรัฐที่ประกอบด้วยดินแดน (Territory) ประชากร (Population) รัฐบาล (Government) และมีความสามารถที่จะเข้าสู่ความสัมพันธ์กับรัฐ อื่น (Capacity to enter into relations with other States) ดังนั้น สรุปได้ว่ารัฐ คือ การที่มนุษย์รวมตัวกันเพื่ออยู่รวมกันในสังคม โดยสละสิทธิ์บาง ประการ สร้างกฎเกณฑ์หรือกฎหมายใช้บังคับระหว่างกัน เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย โดย กำหนดให้บุคคลหนึ่งหรือบุคคลใดเป็นผู้ปกครอง ทำหน้าที่ในการบริหารและออกกฎเกณฑ์หรือ กฎหมาย รวมทั้งใช้อำนาจบังคับหรือลงโทษเพื่อให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์หรือกฎหมายนั้นด้วย 1. องค์ประกอบของรัฐ รัฐ หมายถึง ดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีประชากรอยู่ร่วมกันเป็นชุมชนภายใต้ อำนาจรัฐอย่างมีอิสระ และมีการจัดการปกครองเพื่อสวัสดิการและความเจริญรุ่งเรืองของชุมชนนั้น เนื่องจากรัฐมีลักษณะเป็นนามธรรม คือไม่มีตันอยู่จริง ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องจัดตั้ง องค์กรและจัดระเบียบองค์กรเพื่อภารกิจของรัฐให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งการจัดระเบียบองค์กรของรัฐ ก็คือรัฐธรรมนูญของรัฐ (สุวิทย์ ปัญญาวงค์. 2563, น. 110-113) หรืออาจกล่าวได้ว่าถ้ามองด้าน สังคมศาสตร์ หมายถึง รูปแบบของสังคมที่ก่อตั้งอย่างมั่นคงและสมบูรณ์ มีการอยู่ร่วมกันอย่างเป็น ระเบียบ รัฐเป็นสังคมในทางการเมือง ตั้งอยู่บนส่วนหนึ่งของโลก มีการปกครอง คือ มีการลงโทษ มี อิสระ เช่น อำนาจอธิปไตยและดินแดน เป็นต้น ร่วมมือกัน ผูกพันกับดินแดนที่ตนอาศัยอยู่ มี องค์ประกอบ 3 ประการด้วยการ ได้แก่ 1) ประชากร 2) ดินแดน และ 3) อำนาจอธิปไตย (วารี นา สกุล. 2551, น. 54-55) และในขณะเดียวกันได้มีนักวิชาการที่ได้ให้ความหมายขององค์ประกอบของ รัฐ คือ บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ (2563, น. 278-285) องค์ประกอบความเป็นรัฐนั้นในทางกฎหมายระหว่าง ประเทศเป็นที่ยอมรับและยุติแล้วว่า รัฐมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1) อาณาเขตของรัฐ (Territory) คือ พื้นที่ที่มีขอบเขตแน่นอนบนพื้นโลก และอาจมีสภาพเป็นเกาะก็ได้ หรือ ขอบเขตของ ดินแดนที่รัฐ ๆ หนึ่งสามารถใช้อำนาจปกครองได้ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ที่รัฐอื่นไม่สามารถก้าวก่าย เข้ามาในขอบเขตดินแดนของตนได้ 2) พลเมืองของรัฐ (Citizen) คือ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด พลเมืองของรัฐอาจเกิดมีขึ้นก่อนกำเนิดของรัฐ รัฐกับพลเมืองจึงเป็นของคู่กัน และ 3) อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) หรืออำนาจรัฐ (State Powre) คือ เป็นอำนาจสูงสุดที่ไม่ได้ถ่ายทอดต่อจากอำนาจ ของคนอื่น และเป็นอำนาจที่ไม่มีการจำกัดทั้งภายในและภายนอกรัฐ ประกอบด้วย อำนาจการตรา กฎหมาย การกำหนดรูปแบบของรัฐ และการป้องกันการรุกรานจากภายนอก เป็นต้น

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3