การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

17 คือ 1) ส่วนราชการ 2) รัฐวิสาหกิจ 3) องค์การมหาชน และ 4) องค์กรเอกชนที่ได้รับมอบหมายให้ใช้ อำนาจทางปกครอง (สุวิทย์ ปัญญาวงค์. 2563 , น. 131-135) การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินเป็น 2 ส่วนหรือ 3 ส่วน ประเทศที่แบ่งเป็น 2 ส่วนคือแบ่งเป็นราชการส่วนกลางกับราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น ญี่ปุ่น อังกฤษ และเยอรมนี ส่วนประเทศที่แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ไทยและฝรั่งเศส เป็นต้น การจัดแบ่งระเบียบบริหารราชการ ออกเป็น 2 หรือ 3 ส่วนนั้น ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล สภาพของประเทศ ตลอดจน ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมด้านการเมืองการปกครองและการบริหารของประเทศนั้น ๆ ในกรณีของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 4 บัญญัติว่าให้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินดังนี้ 1) ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง หมายถึง การบริหารราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง และกรม รวมถึงหน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่า ราชการบริหารส่วนกลาง 2) ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง จังหวัดและอำเภอ และ 3) ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วน จังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. 2547, น. 55-57) ผู้ปกครองหรือผู้บริหารต้องมีระเบียบเพื่อเอื้ออำนวยให้ผู้ใต้ปกครองและ มิให้ ตนเองบริหารประเทศได้ตามใจตนเอง ซึ่งในการจัดระเบียบในรัฐนั้นมีหลักสำคัญอยู่ 2 ประการคือ 1) “หลักการรวมอำนาจปกครอง” กล่าวคือ การนำเอาทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งรูปแบบ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และ การตัดสินใจมาไว้ที่ส่วนกลางทั้งหมด เพื่อเป็นการประสานงานทั่ว ๆ ของรัฐ 2) “หลักการกระจาย อำนาจปกครอง” กล่าวคือ รัฐ “ส่วนกลาง” มอบอำนาจปกครองบางส่วนให้แก่องค์กรอื่นนอกจาก ส่วนกลาง เพื่อจัดทำบริการสาธารณะ ภายใต้ความเป็นอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตาม กฎหมาย (วารี นาสกุล. 2551, น. 82) ในขณะเดียวกันมีนักวิชาการที่มีแนวคิดสนับสนุนว่าในการ จัดการปกครอง รัฐบาลเป็นองค์กรที่สำคัญที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารกิจกรรมของรัฐ โดยได้รับ มอบหมายให้ใช้อำนาจบริหารเพื่อดำเนินกิจการสาธารณะของประเทศ ฝ่ายบริหารที่อำนาจหน้าที่ใน การบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดนโยบายและวางแนวทางในการปกครอง แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายที่จะ ปฏิบัติให้สำเร็จตามนโยบายต่าง ๆ ได้แก่ฝ่ายปกครอง ซึ่งมีหน้าที่และกำลังคน คลอดจนเครื่องมือที่ ดำเนินงานเป็นประจำเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนที่เรียกว่าการบริหารสาธารณะ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมขององค์กรของรัฐฝ่ายปกครองมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ รัฐ จะต้องจัด “ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน” โดยจัดตั้งองค์กรของรัฐเพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนิน กิจกรรมดังกล่าว การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินมีอยู่ 2 หลักคือ 1) “หลักการรวมศูนย์อำนาจ ปกครอง” กล่าวคือ การรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ “ส่วนกลาง” กระทรวง ทบวง กรม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3