การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
18 รวมตลอดถึงส่วนราชการอย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่ากรม ซึ่งมีลักษณะสำคัญได้แก่ มีการรวมกำลังใน การบังคับ มีการกำหนดนโยบายและรวมอำนาจวินิจฉัยสั่งการไว้ที่ส่วนการ และมีการบริหารจัดการ โดยลำดับชั้นบังคับบัญชา และ 2) “หลักการกระจายอำนาจปกครอง” เป็นการจัดการปกครองที่รัฐ “ส่วนกลาง” มอบอำนาจการปกครองบางส่วนให้กับองค์กรอื่นเพื่อจัดทำบริการสาธารณะโดยให้มี อิสระในการดำเนินการและไม่อยู่ในบังคับบัญชาของส่วนกลาง แต่จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแล (สุวิทย์ ปัญญาวงค์. 2563, น. 135-140) ในการบริหารราชการของรัฐไม่ว่าจะส่วนใดก็ตามควรอยู่ภายใต้การบริหารกิจการ บ้านเมืองที่ดี เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะอย่างมีประสิทธิภ าพและตอบสนองความ ต้องการของประชาชน ซึ่งควรบรรลุเป้าหมายดังต่อไปนี้ 1) ให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน 2) เกิด ผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ 3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ 4) ไม่มี ขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็นหรือลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน 5)มีการปรับปรุงภารกิจของ ส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์ 6) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนอง ความต้องการ และ 7) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ (พระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546. 2546, น. 2) ดังนั้น สรุปได้ว่า รัฐ เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และเป็นบุคคลที่ไม่มีตัวตนหรือ เป็นนามธรรม ไม่ว่าจะทำอะไรก็ต้องทำผ่านผู้มีอำนาจตามกฎหมาย ซึ่งผู้มีอำนาจตามกฎหมายของรัฐ ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้การบริหารงานของรัฐในด้านต่าง ๆ สำเร็จลุล่วงไปได้ คือ องค์กรของรัฐ โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ และองค์กรของรัฐนั้นอาจแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ องค์กรตามรัฐธรรมนูญ และองค์กรทางปกครอง ซึ่งในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น ทำหน้าที่เพื่อ จัดทำบริการสาธารณะตอบสนองความต้องการของประชาชน มีรัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหาร ทำหน้าที่ ในการกำหนดนโยบายและกำหนดเป้าหมายต่าง ๆ โดยมีฝ่ายปกครอง (หน่วยงานของรัฐและ เจ้าหน้าที่ของรัฐ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่เพื่อขับเคลื่อนให้ไปสู่นโยบายและเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งต้อง สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ด้วย 2.2.2 ทฤษฎีอำนาจรัฐ 1. แนวคิดเกี่ยวกับการตรากฎหมาย รัฐมีอำนาจสามประการตามหลักการแบ่งแยกอำนาจของมองเตสกิเออ คือ ประการ ที่ 1 รัฐมีอำนาจออกกฎหมายมาบังคับการดำเนินการชีวิตของประชาชนทั่วไป อำนาจในการออก กฎหมาย การแก้ไข และการยกเลิกกฎหมายเป็นอำนาจนิติบัญญัติ ประการที่ 2 รัฐมีอำนาจในการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3