การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19 ดูแลความปลอดภัยภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งใช้กำลังเพื่อให้ประชาชนเคารพกฎหมาย อำนาจดังกล่าวคืออำนาจนิติบริหาร และอำนาจประการสุดท้าย รัฐจำต้องลงโทษบุคคลเมื่อมีการ กระทำผิดกฎหมาย และจัดให้มีคำพิพากษาวินิจฉัยข้อพิพาทระหว่างประชาชนที่อยู่ภายใต้กฎหมาย นี้คืออำนาจตุลาการ สำหรับประเด็นในการตรากฎหมายเป็นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ (เกรียงไกร เจริญธนาวัฒนาวัฒน์. 2561, น. 106) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของนักวิชาการที่ให้แนวคิดว่ารัฐมี อำนาจสามประการ ได้แก่ วิรัช วิรัชนิภาวรรณ (2547, น. 18-19) ซึ่งกล่าวว่าอำนาจอธิปไตยคือ อำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ โดยทั่วไปแบ่งการใช้อำนาจอธิปไตยเป็น 3 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่าย นิติบัญญัติ คือรัฐสภา ฝ่ายบริหาร คือคณะรัฐมนตรีหรือรัฐบาล และฝ่ายตุลาการ คือ ศาล ทั้งนี้ สำหรับอำนาจนิติบัญญัตินั้น เป็นอำนาจที่ใช้ตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับภายในระยะเวลาหนึ่งหรือตลอด กาล รวมทั้งมีอำนาจในการแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายที่มีอยู่แล้ว (ชายชัย แสวงศักดิ์. 2563, น. 267) ประเทศไทยมีแบ่งแยกอำนาจเป็นสามประการคืออำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 3 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่ บัญญัติว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้น ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ซึ่งอำนาจในการตรากฎหมายคือของรัฐสภา (อำนาจนิติบัญญัติ) การตรากฎหมายต้องอยู่ภายใต้มาตรา 77 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่กำหนดว่า รัฐพึงจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่ สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตหรือการประกอบอาชีพโดยไม่ชักช้า เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้ โดยสะดวกและสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ซึ่งก่อนการตรา กฎหมายทุกฉบับ รัฐพึงจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ นั้นต่อประชาชน และนำมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอนเมื่อ กฎหมายมีผลใช้บังคับแล้ว รัฐพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายทุกรอบระยะเวลาที่ กำหนดโดยรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบด้วย เพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้อง และเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งมาตรา 78 รัฐพึงส่งเสริมให้ประชาชนและ ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข และมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ การจัดทำบริการสาธารณะทั้งใน ระดับชาติและระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ รวมตลอดทั้งการตัดสินใจทางการเมือง และการอื่นใดบรรดาที่อาจมีผลกระทบต่อประชาชนหรือ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3