การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ค บทคัดย่อภาษาไทย บทคัดย่อ ชื่อการค้นคว้าอิสระ : มาตรการทางกฎหมายกรณีควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการ ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ชื่อ-ชื่อสกุลผู้ทำการค้นคว้า อิสระ : นายสรพล อักษรศิริ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้า อิสระ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิดาภา พรยิ่ง ปริญญาและสาขาวิชา : ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ปีการศึกษาที่สำเร็จ : 2565 การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการ ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล และการปฏิบัติหน้าที่ของ หน่วยงานผู้รับผิดชอบ นำไปสู่การปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเพื่อควบคุมผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ประกาศกรมประมง กำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง จากกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ระหว่างพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป กับพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ต่ำกว่า 10 ไร่ กำหนดควบคุมค่าความเป็นกรด ด่าง ความเค็ม การใช้สารเคมีและสารอื่น ๆ แตกต่าง กัน และพบว่ายังไม่มีบ่อน้ำทิ้งเพื่อใช้บำบัดน้ำให้มีคุณภาพเป็นไปตามค่ามาตรฐาน อีกทั้งไม่มีการแจ้ง ต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบค่ามาตรฐานควบคุมก่อนระบายน้ำลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ เหล่านี้ล้วน ก่อให้เกิดมลพิษต่อพื้นดิน แหล่งน้ำ และสิ่งแวดล้อม 2) ประเด็นด้านกลิ่นกุ้งที่เหลือจากจับขายแล้ว ตายอยู่ในบ่อเลี้ยงขาดความชัดเจนและเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการแก้ไขปัญหา ข้อเสนอแนะ 1) ปรับปรุงแก้ไขข้อกำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง พื้นที่บ่อ เลี้ยงกุ้งทะเลผู้ประกอบการให้เหมือนกัน กำหนดให้มีบ่อบำบัดน้ำทิ้ง กำหนดให้มีหน้าที่แจ้งเรื่อง ระบายน้ำทิ้งต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบคุณภาพน้ำให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานก่อนระบายน้ำทิ้งลงสู่ แหล่งน้ำสาธารณะ สร้างแนวทางมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานในระดับท้องถิ่นจัดตั้งในรูปแบบ คณะกรรมการเพื่อบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อตรวจสอบ เฝ้าระวัง แจ้งข้อมูลการกระทำผิด และช่วยกันบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม 2) แก้ไขประกาศพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3