การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

20 ชุมชน ซึ่งการจะตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับนั้นจะต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. 2560, น. 20) ดังนั้น สรุปได้ว่า กฎหมายเปรียบเสมือนเครื่องมือหรืออาวุธของรัฐ ซึ่งรัฐสามารถ กำหนดให้กระทำการ ไม่กระทำการ หรืองดเว้นกระทำการใด ๆ เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยให้ เกิดขึ้นในสังคมหรือเพื่อวัตถุประสงค์ใด ๆ ตามที่รัฐตั้งไว้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่ารัฐสามารถจะตรา กฎหมายใด ๆ ได้ตามอำเภอ ก่อนที่รัฐจะตรากฎหมายขึ้นมาใช้บังคับรัฐจะต้องรับฟังความคิดเห็นจาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาประกอบการพิจารณาทุกครั้ง และเมื่อกฎหมายมีผลใช้บังคับ แล้วรัฐจะต้องประเมินผลสัมฤทธิ์ด้วย หากกฎหมายดังกล่าวยังไม่สอดคล้องกับสภาพกับปัจจุบันก็ควร ต้องปรับปรุงแก้ไข เพิ่มเติมให้สอดคล้องต่อไป 2. แนวคิดในการบังคับใช้กฎหมาย กฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ผู้มีอำนาจสูงสุดได้ตราขึ้น เพื่อควบคุมพฤติกรรมของประชาชน และรักษาความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับการลงโทษ ซึ่งในการปกครองหรือการบริหาร ประเทศ กฎหมายถือว่า เป็นเครื่องมือของรัฐบาลที่ใช้จัดระเบียบการอยู่ร่วมกันของประชาชน กฎหมายยังเป็นเครื่องมือสูงสุดของสังคมที่จะรักษาไว้ซึ่งอิสรภาพ และความเป็นระเบียบของบุคคล ทุกชนชั้น โดยได้กำหนดสิทธิ หน้าที่และเสรีภาพ จากการที่กฎหมายมีวัตถุประสงค์มุ่งคุ้มครองความ เป็นระเบียบเรียบร้อยและความสงบสุขของสังคม ดังนั้นกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ เป็น องค์ประกอบไม่ว่าจะเป็นสภาพบังคับทางอาญา ในลักษณะโทษทางอาญา หรือในทางเยียวยาโดยการ ป้องกัน โดยมีรัฐเป็นกลไกบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งการบังคับใช้กฎหมายต้องนำกฎหมายมาใช้บังคับแก่ ข้อเท็จจริงในกรณีเฉพาะเรื่อง ซึ่งอาจมีผู้ใช้แตกต่างกัน เช่น ใช้โดยเจ้าพนักงานตำรวจ ศาลเป็นต้น (หยุด แสงอุทัย. 2538, น. 41) ในขณะเดียวกันมีนักวิชาการที่มีความเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมาย เป็นกลไกหลักที่กำหนดกรอบกติกาของสังคม โดยกำหนดบทบาทของประชาชน เนื่องจากเป็นคำสั่ง ของรัฐที่สั่งให้ราษฎรปฏิบัติ ฉะนั้นกฎหมายจึงเป็นฐานรองรับการใช้อำนาจที่สำคัญที่จะนำมาใช้บังคับ ให้มีประสิทธิภาพต่อการควบคุมปัญหาของสังคม ซึ่งกฎหมายก็เป็นบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ให้ต้องถือ ปฏิบัติ ได้แก่ กฎหมาย กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ระเบียบ ซึ่งผู้มีอำนาจได้กำหนดขึ้นให้ประชาชนปฏิบัติ ตามหรืองดเว้นกระทำการ (สุนีย์ มัลลิกะมาลย์. 2542, น. 150) ซึ่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 53 ว่า รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามและบังคับใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัด (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. 2560, น. 14) การบังคับใช้กฎหมายที่ออกโดยอำนาจนิติบัญญัติเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็น อำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ที่กระทำโดยหน่วยงานของฝ่ายบริหาร นั่นก็คือองค์กรบริหาร ซึ่งองค์กร

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3