การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
23 2. สำนักงานประมงอำเภอ เป็นราชการส่วนภูมิภาคของกรมประมง มีหน้าที่และ อำนาจในพื้นที่ที่รับผิดชอบ ได้แก่ 1) สนับสนุนให้เกิดธุรกิจและอาชีพการประมงที่เหมาะสม รวมทั้ง กำกับดูแล ให้การประกอบธุรกิจ และการประกอบอาชีพการประมงเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อตกลง และมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง 2) ควบคุมและกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการทำการ ประมงให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการประมงและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง 3) จัดทำแผนพัฒนาและ ฐานข้อมูลด้านการประมง รวมทั้งประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่งานด้านการประมง 4) ให้คำปรึกษา และสนับสนุนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น และให้คำปรึกษา แนะนำและสนับสนุนองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในการดำเนินการพัฒนาด้านการประมง 5) ให้บริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี ด้านการประมง รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการผลิตให้ถูกสุขลักษณะตามมาตรฐาน 6) ดำเนินการ เกี่ยวกับใบอนุญาต หนังสืออนุญาต หนังสือรับรอง และรับจดทะเบียนตามที่กฎหมายกำหนด และ 7) จัดเก็บเงินค่าอากรเครื่องมือทำการประมงและค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประมง 8) ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย (กฎกระทรวงแบ่ง ส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563. 2563, น. 17-18) กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงราชการบริหารส่วนกลางของกรม ประมง และ ราชการบริหารส่วนภูมิภาคของกรมประมง (สำนักงานประมงจังหวัด และสำนักงาน ประมงอำเภอ) เป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดย ข้าราชการและลูกจ้างประจำในสังกัดกรมประมง เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชกำหนดการ ประมง พ.ศ. 2558 ผู้ปฏิบัติเพื่อกำกับ ควบคุม ดูแลการเลี้ยงกุ้งทะเล ให้เป็นไปตามพระราช กำหนดการประมง พ.ศ. 2558 (คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 907/2559 เรื่อง แต่งตั้ง พนักงานเจ้าพนักงานตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558. 2559, น. 38) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รักษาการตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 (พระราช กำหนดการประมง พ.ศ. 2558. 2558, น. 6) 2.3 แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นหลักการสากลที่ประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญ ซึ่งการส่งเสริม การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมเป็นเงื่อนไขและเป็นกุญแจดอกสำคัญของความสำเร็จต่อการพัฒนา ระบบราชการให้สามารถตอบสนองความต้องการและเอื้อต่อประโยชน์สุขของประชาชน ซึ่งรัฐต้อง เปิดโอกาสให้ประชาชนและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนรับรู้ ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ เพื่อสร้างความโปร่งใส และเพิ่มคุณภาพการตัดสินใจของภาครัฐให้ดีขึ้น (พรรณิลัย นิติโรจน์. 2557, น. 15) ในขณะเดียวกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3