การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
25 2.3.1 ความหมายการมีส่วนร่วมของประชาชน การมีส่วนร่วมของประชาชน หมายถึง การที่กลุ่มประชาชน หรือสมาชิกของชุมชนที่ กระทำการในลักษณะทำงานร่วมกัน ที่แสดงให้เห็นถึงความต้องการร่วมกัน ความสนใจร่วม ความ ต้องการรวมกันที่จะบรรลุเป้าหมายไม่ว่าจะในเรื่องของเศรษฐกิจและสังคมการเมือง หรือร่วมกันเพื่อ ก่อให้เกิดอำนาจต่อรองทางการเมือง เศรษฐกิจ หรืออื่น ๆ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ดังนั้นจึง สรุปได้ว่า การมีส่วนร่วม คือลักษณะการเข้าไปกระทำร่วมกันของบุคคล เป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนได้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน การพัฒนาในการแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น โดย เปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมริเริ่ม ร่วมกำหนดนโยบาย ร่วมวางแผน ตัดสินใจและปฏิบัติตามแผน ร่วม ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ร่วมติดตามประเมินผล โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนถือเป็น หัวใจสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กร ซึ่งเป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนใน การบริหารราชการ เป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการ บริหารราชการแผ่นดิน โดยการส่งเสริมให้ภาคประชาชนเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผลประโยชน์และร่วมประเมินผล (พัชรินทร์ อยู่เย็น และคณะ. 2563, น. 329,331,339) และ วิชาญ ฤทธิธรรม, พุฑฒจักร สิทธิ และ โพชฌ์ จันทร์โพธิ์ (2564, น. 33,41) ได้ อธิบายว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นการเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีสิทธิในกระบวนการนโยบายสาธารณะทั้งในด้านการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การให้ความ คิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ การร่วมตัดสินใจ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการริเริ่มนโยบายหรือการตัดสินใจของ ประชาชนในกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยมีผลกระทบต่อประชาชนส่วนรวมทั้งหมดทั้งนี้เมื่อผ่านการมีส่วน ร่วมก่อนกำเนิดนโยบายหรือการตัดสินใจของกิจกรรมย่อมทำให้เกิดการดำเนินร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยง มิได้ รวมทั้งการรับผลประโยชน์ที่เกิดจากการตัดสินใจนั้น และร่วมกันตรวจสอบประเมินผลจาก กิจกรรมโครงการต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าการมีส่วนร่วม คือการที่ประชาชนได้แสดงความประสงค์ด้วยความเห็น และการลงมือกระทำ เพื่อแก้ไขปัญหาและการดำเนินการพัฒนาให้เกิดผล ในอันที่จะนำมา เปลี่ยนแปลงในทางที่ชอบที่ควร เป็นประโยชน์ต่อตนเอง กลุ่มชนและสังคม ซึ่งผลที่เกิดขึ้นเป็นความ ตั้งใจที่แท้จริงของประชาชน ซึ่งหลักการพื้นฐานของการมีส่วนร่วม โดยที่มนุษย์ได้ร่วมคิดร่วมกันรู้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องที่เกี่ยวกับหลักการ เพื่อให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรที่ได้ร่วมตัดสินใจใน โครงการ ตั้งแต่เริ่มต้นการร่วมงานกัน จนสิ้นสุดการตัดสินใจในโครงการนั้น โดยกระบวนการมีส่วน ร่วมประชาชนทุกคนต้องได้เข้ามามีส่วนร่วมเริ่มต้นจากขั้นตอนการวางแผน ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมใน การวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันจัดลำดับความสำคัญของปัญหาและตัดสินใจกำหนดวิธีการแก้ไขร่วมกัน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3