การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

27 เป็น โครงการที่จำเป็นต้องใช้ผู้มีความรู้เฉพาะด้านผู้ชำนาญการหรือเทคโนโลยีชั้นสูงแล้ว บางครั้งเป็น ความ ยุ่งยากที่จะให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมปฏิบัติงานได้แต่หากเป็นโครงการหรือกิจกรรมระดับ ท้องถิ่น เช่น การจัดการป่า ลุ่มน้ำหรือทรัพยากรอื่นที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านได้ ชาวบ้านหรือประชาชน ในท้องถิ่นก็เข้า ร่วมดำเนินการได้ หรือเป็นการร่วมดำเนินการด้วยการลงทุนถือหุ้นก็ย่อมถือว่ามีการ ร่วมดำเนินการได้ ระดับที่ 5 ร่วมติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล หมายถึง การร่วมตรวจสอบและ ติดตาม การดำเนินการตามโครงการหรือกิจกรรมนั้นๆ ว่าเป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นโครงการหรือกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วได้นำ มาตรการลด ผลกระทบมาใช้หรือไม่ก็มีการใช้ระบบการติดตามตรวจสอบเพื่อป้องกันปัญหาเกิดขึ้น ห รือ ไม่การมีส่ วน ร่วมขอ งป ระช าชน ใน ระดับนี้ จะ เป็นป ระ โยชน์ต่อการพิทั กษ์ รักษ า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อย่างมาก เพราะประชาชนจะทำหน้าที่คอยเฝ้าระวังและเตือน ภัย (Watch Dog) การดำเนินงาน โครงการเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงทีก่อนที่จะมี ผลร้ายเกิดขึ้น และเมื่อมีการดำเนินการตาม โครงการหรือกิจกรรมแล้ว ก็ต้องมีการประเมินผลว่าการ ดำเนินการนั้น ๆ บรรลุตามเป้าหมายและ วัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด มีการนำมาตรการการ ป้องกันแก้ไข ปัญหาสิ่งแวดล้อมมาใช้หรือไม่ และผลของการดำเนินการเป็นอย่างไร เพื่อจะได้เป็น แนวทางใน การพิจารณาเอามาตรการที่เหมาะสมมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระดับที่ 6 ร่วมรับผล หมายถึง การดำเนินการโครงการหรือกิจกรรมที่ดำเนินไปแล้ว ย่อม ได้มาซึ่งผลประโยชน์และผลกระทบทั้งที่เป็นผลกระทบด้านบวกและผลกระทบด้านลบทั้งต่อ ประชาชน และต่อสิ่งแวดล้อม โดยที่ประชาชนหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องรับเอาผลที่เกิดขึ้นมานั้น ในขณะเดียวกันมีนักวิชาการที่นำเสนอระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวคือ นำเสนอต้นแบบขั้นบันไดการมีส่วนร่วมของพลเมือง ได้แบ่งบันไดการมีส่วนร่วมของประชาชน ออกเป็น 8 ขั้น ประกอบด้วย 1) ขั้นการควบคุม 2) ขั้นการรักษา 3) ขั้นการให้ข้อมูล 4) ขั้นการรับฟัง ความคิดเห็น 5) ขั้นการปรึกษาหารือ 6) ขั้นการเป็นหุ้นส่วน 7) ขั้นมอบอำนาจ 8) ขั้นอำนาจพลเมือง โดยระดับบันไดที่สูงขึ้นสะท้อนอำนาจของประชาชนมากขึ้นโดย ขั้นบันไดที่ 1 และ 2 ถือว่ายังไม่เกิด การมีส่วนร่วมของประชาชนเลย ขั้นบันไดที่ 3 ถึงขั้นที่ 5 ประชาชนมีโอกาสในการให้ข้อมูลความ คิดเห็นแต่ยังไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ ขั้นบันไดที่ 6 7 และ 8 ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจใน ระดับภาคีหุ้นส่วน จึงจะเป็นจุดเริ่มของบทบาทและอำนาจของประชาชนอย่างแท้จริง (อรทัย ก๊กผล. 2556, น. 19-26)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3