การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

28 2.4 หลักการและรูปแบบวิธีเลี้ยงกุ้งทะเล กุ้งทะเลเป็นสัตว์น้ำที่อาศัยในน้ำเค็ม มีการเพาะเลี้ยงหรือเพาะพันธุ์ ทั้งวิธีการธรรมชาติ วิธี ผสมเทียม หรือวิธีอื่นใดในการเพาะเลี้ยง ซึ่งอาศัยน้ำทะเลหรือนำที่มีค่าความเค็มใกล้เคียงกับทะเลใน การดำรงชีวิต ซึ่งในประเทศไทยนิยมเลี้ยงกุ้งทะเล 3 สายพันธุ์ได้แก่ สายพันธุ์กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย และกุ้งขาว ซึ่งเป็นกุ้งทะเลชนิดหนึ่ง การเพาะเลี้ยงในระยะแรกเป็นเพียงการปล่อยน้ำทะเลเข้าไปยัง บ่อเลี้ยง โดยอาจเป็นบ่อพักในการทำนาเกลือ รองน้ำ หรือบ่อที่ขุดขึ้น แล้วปล่อยให้กุ้งโตเต็มวัยแล้ว จึงจับขาย (สมศักดิ์ มณีพงศ์ และคณะ. 2542) และในขณะเดียวกันมีนักวิชาการหลายท่านได้อธิบาย ขั้นตอนการเลี้ยงกุ้งทะเลไว้ ได้แก่ กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์ พัฒนาการประมง (2560, น. 5) ได้อธิบายว่า การเลี้ยงกุ้งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1) การเลี้ยง แบบธรรมชาติ 2) การเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนา และ 3) การเลี้ยงแบบพัฒนา โดยมีวิธีการเลี้ยงในแต่ละ แบบดังนี้ 1) การเลี้ยงแบบธรรมชาติ หมายถึง การเลี้ยงกุ้งที่มีการปล่อยน้ำจากแหล่งธรรมชาติเข้ามา เพื่อรับเอาลูกกุ้ง และอาหารธรรมชาติเข้ามากักไว้ในบ่อเลี้ยง ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิม ใช้พื้นที่ค่อนข้างมาก ขนาดของบ่อส่วนใหญ่จะมากกว่า 25 ไร่ ขึ้นไป ใช้พันธุ์กุ้งจากธรรมชาติเท่านั้น 2) การเลี้ยงแบบกึ่ง พัฒนา หมายถึง การเลี้ยงกุ้งที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติแต่มีการปรั บปรุง รูปแบบบ่อ ขนาดบ่อโดยประมาณ 10 – 25 ไร่ มีการซื้อพันธุ์กุ้งจากโรงเพาะฟักเพื่อปล่อยเสริมใน อัตราเบาบาง มีการให้อาหารสมทบ อาจมีเครื่องเติมอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจน 3) การเลี้ยงแบบ พัฒนา หมายถึง การเลี้ยงกุ้งที่ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าช่วย การจัดการรูปแบบของบ่อ มีระบบ ถ่ายเทน้ำ ควบคุมอุณหภูมิ ควบคุมโรค และมีระบบการจัดการที่ดี ขนาดของบ่อประมาณ 1 – 10 ไร่ ใช้พันธุ์กุ้งจากโรงงานเพาะฟักเท่านั้น ให้อาหารทุกวันวันละ 3 – 5 มื้อ ดูแลเอาใจใส่อย่างดี ใช้เครื่อง เติมอากาศเพื่อเพิ่มออกซิเจน อีกทั้งวิชิต เรืองแป้น (2558, น. 235) ได้อธิบายการเลี้ยงกุ้งขาวไว้ดังนี้ 1. การเตรียมบ่อ ในการเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งขาวไม่ได้แตกต่างจากกุ้งชนิดอื่นสิ่งที่ควรเน้นเป็น พิเศษคือแร่ธาตุและการใช้วัสดุปูน 2. การจัดการเรื่องน้ำ ก่อนการเลี้ยงและในระหว่างเลี้ยง จะทำการฆ่าเชื้อและเตรียมน้ำ ก่อนปล่อยกุ้ง หลังจากเติมน้ำเลี้ยงกุ้งแล้วปล่อยให้น้ำตกตะกอน น้ำจะใสและโปร่ง สารเคมีที่ เหมาะสมในการฆ่าเชื้อ คือ ไอโอดีน ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อได้หลายชนิด และไม่ตกค้าง รวมทั้งไม่ฆ่า แพลงก์ตอนพืชและแพลงก์ตอนสัตว์ ส่วนในระหว่างเลี้ยงจะฆ่าเชื้อโดยใช้สารกลูตารอลดีไฮด์ (Gluta raldehye) ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ดี 3. คุณภาพน้ำระหว่างเลี้ยง ควรมีคุณภาพน้ำ ดังนี้ 1) ค่าพีเอช ควรอยู่ในระดับ 7.5-8.5 2) ค่าของอัคคาไลน์ควรอยู่ระหว่าง 80-120 ppm 3) ค่าระดับความเค็มของน้ำควรมีค่าความเค็มตั้งแต่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3