การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
31 ปลูกฝังทัศนคติการป้องกันดีกว่าการแก้ไข เกิดในเยาวชนไทยต่อไป 4) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ โดยกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมระหว่างภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การตั้งถิ่น ฐานของชุมชน มีการปรับปรุงกฎหมาย เพื่อสนับสนุนท้องถิ่นและประชาชนให้มีส่วนร่วมหรืออาจจะ ต้องมีการประชาสัมพันธ์พูดคุยถึงความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 5) การจัดการ คุณภาพสิ่งแวดล้อมประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ 1) ส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กับการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ 2) การดูแลรักษาด้านคุณภาพและมาตรฐานสิ่งแวดล้อม เกี่ยวกับสินค้าเพื่อการส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล 3) การจัดระเบียบและระบบการกำจัด ของเสียอันตรายเพื่อมิให้ส่งผลกระทบ (อิสติณนา มูหะมัด. 2558, น. 32-33) สำหรับแนวทางในการควบคุมหรือลดมลพิษสิ่งแวดล้อมของสำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2544, น. 146) ได้อธิบายว่า ควรใช้การมีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาน้ำเสียการนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายสำหรับประเทศไทยเป็นเรื่องใหม่ ถึงแม้ว่ าโดย หลักการได้มีการนำเสนอขึ้นมาใช้ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524) แล้วก็ตาม แต่การดำเนินการในทางปฏิบัติยังไม่ได้รับการนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการจัดการกับผู้ก่อมลพิษที่จะต้องรับผิดชอบต่อมลพิษที่ก่อขึ้น จึงควรมีแนวทางดังนี้ 1) การนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาใช้ มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ก่อมลพิษ ได้เข้าใจถึงการดำเนินการ วิธีการดำเนินงาน และรวมถึงการบริหารทางการเงินของโครงการ เพื่อให้ ผู้จ่ายมีความเข้าใจและตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นของโครงการ 2) หลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายยังไม่ มีกฎหมายรองรับโดยตรง ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ดำเนินการได้ การดำเนินการจึงต้องมีการพิจารณา รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้ามารวมไว้ด้วยกัน เพื่อรองรับการทำงานโดยรวม 3) ควรมีการปรับ กลไกการบริหารและรูปแบบขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดการและบริหารให้มี ความเป็นอิสระจากระบบราชการ และมีความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งในปัจจุบันการบริหารจัดการ ระบบบำบัดน้ำเสียรวมและการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียยังอยู่ภายใต้การดำเนินการของ หน่วยงานราชการ การบริหารงานอาจจะไม่มีความยืดหยุ่น ทั้งนี้มีเงื่อนไขของระเบียบราชการเป็น กรอบการทำงาน 4) การพัฒนารูปแบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียจากผู้ก่อมลพิษ ทั้งนี้การ จัดเก็บในปัจจุบันภาครัฐยังคงต้องให้การอุดหนุนค่าบำบัดน้ำเสียแก่ผู้ก่อมลพิษ ซึ่งในระยะยาวด้วย งบประมาณที่จะต้องนำมาใช้อุดหนุนผู้ก่อมลพิษจะมีข้อจำกัดมากขึ้น การพัฒนารูปแบบการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมบำบัดน้ำเสียในรูปแบบใหม่ ๆ โดยมีเงื่อนไขการเพิ่มขึ้นของรายได้จากการจัดเก็บจะเป็น เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินการบำบัดน้ำเสียของแต่ละพื้นที่มีความสามารถในการจัดการ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3