การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
33 ไม่ให้ทิ้งสิ่งปฏิกูลลงในแหล่งน้ำ และ 5) การบำบัดน้ำเสีย เป็นวิธีทางธรรมชาติและทางวิทยาศาสตร์ บำบัดหรือปรับปรุงน้ำเสียเพื่อลดความสกปรกก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยทั่วไปจะใช้วิธีการเร่ง เวลาการปรับปรุงคุณภาพน้ำให้เร็วขึ้นกว่าที่ที่จะใช้ธรรมชาติบำบัด เช่น สารเพิ่มออกซิเจนโดยการ เติมอากาศเพื่อให้แบคทีเรียย่อยสลายของเสียในน้ำเสีย การใช้สารเคมีตกตะกอนสีและสารแขวนลอย ในน้ำเสีย การใช้แรงเหวี่ยงเพื่อเร่งการตกตะกอนของแข็ง และของแข็งลอยน้ำในน้ำเสีย เป็นต้น (สำนักจัดการคุณภาพน้ำ. 2560, น. 8-9) จากศึกษาการควบคุมมลพิษและผลผลิตประมงอย่างยั่งยืนกรณีศึกษาทะเลสาบสงขลา ผล การศึกษาสามารถระบุความเชื่อมโยงของปัญหาและสาเหตุของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบที่ต่อ คุณภาพของน้ำที่เสื่อมโทรม ได้แก่ 1) ปัญหาเชิงนโยบายตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม และแนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือตัวชี้วัดมาตรฐานคุณภาพควรกำหนดค่าความเข้มข้นและปริมาณ BOD 2) ไม่มีกลไกจูงใจให้หน่วยผลิตลดมลพิษ แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือ สร้างกลไกให้เกิด แรงจูงใจในการลดมลพิษ (PCS, TDP) 3)การควบคุมการปล่อยน้ำเสียของผู้ผลิตขนาดเล็กไม่ชัดเจน แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือ จัดระบบให้เอื้อต่อการบำบัดน้ำเสียของผู้ผลิตขนาดเล็ก 4) ไม่มี ระบบควบคุมการปล่อยน้ำเสียของชุมชน แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือ สร้างระบบบำบัดน้ำเสีย ชุมชนย่อย ๆ โดยเชื่อมโยงของผู้ผลิตขนาดเล็กกับระบบของชุมชน และ 5) การควบคุมขาด ประสิทธิภาพ แนวทางแก้ไขปัญหาเบื้องต้นคือ ปรับปรุงระบบการควบคุมติดตามและสนับสนุนให้มี องค์กรอิสระภาคประชาชนในการควบคุมการปล่อยน้ำเสียในชุมชน (กัลยาณี พรพิเนตพงศ์, ศักดิ์ชัย คีรีพัฒน์, สินาด ตรีวรรณไชย, สุกำพล จงวิไลเกษม, โชติมา พรสว่าง, จันทร์ทิพย์ จันทร์ดี และปฐม วัตร จันทรศัพท์. 2557, น. 15,18-20) 2.6 กฎหมายไทยและต่างประเทศ ในการเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งการเลี้ยงกุ้งทะเลส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รัฐได้ตรากฎหมายเพื่อ ควบคุมโดยให้ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งต้องยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมาย ได้แก่ 2.6.1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดการรับรองสิทธิ หน้าที่ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งบัญญัติไว้ในมาตรา 43 บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิในการจัดการ บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ อย่างสมดุลและยั่งยืนตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ และมาตรา 50 บุคคลมีหน้าที่ ร่วมมือและ สนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม รวมถึงมาตรา 57 รัฐต้องอนุรักษ์ คุ้มครอง บำรุงรักษา ฟื้นฟู บริหาร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3