การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

34 จัดการ และใช้หรือจัดให้มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลาย ทางชีวภาพ ให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน โดยต้องให้ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่นที่ เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมดำเนินการและใช้ประโยชน์จากการดำเนินการดังกล่าวตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ซึ่งมาตรา 58 กำหนดไว้ชัดเจนว่าการดำเนินการใดของรัฐหรือที่รัฐจะอนุญาตให้ผู้ใดดำเนินการ ถ้า การนั้นอาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพของสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้ส่วนเสียสำคัญอื่นของประชาชนหรือชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง รัฐต้องดำเนินการ ให้มีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพและสุขภาพของประชาชนหรือชุมชน และจัดให้มี การรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนและชุมชนที่เกี่ยวข้องก่อน เพื่อนำมา ประกอบการพิจารณาดำเนินการหรืออนุญาตตามที่กฎหมายบัญญัติ และรัฐต้องใช้ความระมัดระวังให้ เกิดผลกระทบต่อประชาชน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพน้อยที่สุด และต้อง ดำเนินการให้มีการเยียวยาความเดือดร้อนหรือเสียหายให้แก่ประชาชนหรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบ อย่างเป็นธรรมและโดยไม่ชักช้า (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. 2560 , น. 12-13,15) จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศไทยได้ให้ความสำคัญและ บัญญัติเรื่องสิ่งแวดล้อมไว้โดยกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชนและรัฐ ในส่วนที่เกี่ยวกับ สิ่งแวดล้อมไว้ ซึ่งไม่ว่าจะมีกฎหมายบัญญัติไว้หรือไม่รัฐและประชาชนก็ต้องมีความรับผิดชอบและ ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อมโดยต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับต้น ๆ 2.6.2 พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจประกาศ กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องแจ้งการประกอบกิจการการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามวิธีการที่กำหนด (2) กำหนดแหล่งที่มาของสัตว์น้ำที่ห้าม นำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (3) กำหนดประเภท ลักษณะ และคุณภาพอาหารของสัตว์น้ำที่ห้าม ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (4) กำหนดชนิดและปริมาณของยา เคมีภัณฑ์หรือสารอันตรายอื่นใดที่ห้าม ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (5) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการจัดการน้ำทิ้งหรือของเสีย จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (6) กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการป้องกันมิให้น้ำจากการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรั่วไหลออกจากที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (7) กำหนดเรื่องอื่นใดที่จำเป็นในการป้องกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตรายต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจการของบุคคลอื่น (พระราชกำหนดการ ประมง พ.ศ. 2558. 2558, น. 22) โดยอธิบดีกรมประมงได้ออกประกาศ ดังนี้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3