การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

37 ออกสู่สิ่งแวดล้อม” ลงวันที่ 28 กันยายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีพื้นที่ต่ำกว่า 10 ไร่ขึ้นไป ต้อง จัดการน้ำทิ้งให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง ดังต่อไปนี้ ก่อนปล่อยออกจากสถาน ประกอบกิจการ 1) ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) 6.5 – 8.5 และ 2) ความเค็ม (Salinity) จะมีค่าสูง กว่าความเค็มของแหล่งรองรับน้ำทิ้งในขณะนั้นได้ไม่เกินร้อยละ 50 การจัดการน้ำทิ้งของสถานประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตั้งอยู่นอกเขต พื้นที่ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “กำหนดให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำชายฝั่งเป็นแหล่งกำหนดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือ ออกสู่สิ่งแวดล้อม” ลงวันที่ 28 กันยายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีพื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป ต้อง จัดการน้ำทิ้งให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง ดังต่อไปนี้ ก่อนปล่อยออกจากสถาน ประกอบกิจการ 1) ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) 6.5 – 8.5 2) บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร 3) สารแขวนลอย (Suspended Solids) ไม่เกิน 70 มิลลิกรัม ต่อลิตร 4) แอมโมเนีย (NH 3 – N) ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร 5) ฟอสฟอรัสรวม (Total Phosphorus) ไม่เกิน 0.4 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร 6) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H 2 S) ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร 7) ไนโตรเจนรวม (Total Nitrogen) ผลรวมไนโตรเจนละลาย (Total Dissolved Nitrogen) และไนโตรเจนแขวนลอย (Total Particulate Nitrogen) ไม่เกิน 4.0 มิลลิกรัมไนโตรเจน ต่อลิตร และ 8.ความเค็ม (Salinity) จะมีค่าสูงกว่าความเค็มของแหล่งรองรับน้ำทิ้งในขณะนั้นได้ไม่ เกินร้อยละ 50 (2) ห้ามมิให้ทิ้งหรือปล่อยให้ดินเลนไหลออกจากพื้นที่สถานประกอบกิจการลงสู่ แหล่งน้ำสาธารณะ พื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่ของบุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบุคคลนั้น (3) กำหนดให้สถานประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลต้องดำเนินการป้องกันน้ำ จากการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลมิให้รั่วไหล ออกสู่บริเวณภายนอกพื้นที่สถานประกอบกิจการหากตรวจพบ ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาภายในสี่สิบแปดชั่วโมง 5. สำหรับผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลที่ต้องการจะยกระดับสินค้าและพัฒนาสินค้ากุ้ง ทะเลที่มาจากการเลี้ยงของตนเองให้มีคุณภาพ มีมาตรฐานและความปลอดภัย เป็นที่ยอมรับและเป็น ที่ต้องการของผู้บริโภค โรงงานอุตสาหกรรม และต่างประเทศ ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลอาจต้อง พัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลให้เป็นไปตามมาตรฐานของ จีเอพี (GAP) หรือ มกษ. 7436 – 2563 โดย มีมาตรฐานดังนี้ 1) จีเอพี (GAP) ของกรมประมงตาม ระเบียบกรมประมงว่าด้วย “การออกใบรับรอง การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ (จี เอ พี) พ.ศ. 2553” (กรมประมง.

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3