การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

39 2) มกษ. 7436 – 2563 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง “กำหนด มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการ บริโภค ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 25 61 มกษ. 7436 – 2563” เป็น เครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้า เพื่อเป็นการรับรองเกี่ยวกับแหล่งกำเนิด ส่วนประกอบ วิธีการ ผลิตคุณภาพ หรือคุณลักษณะอื่นใดของสินค้าเกษตร ซึ่งมีความสำคัญในการสื่อสารข้อมูลไปยัง ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ เพื่อให้เกิดการยอมรับ เชื่อมั่น และเชื่อถือต่อสินค้าเกษตรว่ามีมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย (ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติ ทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคตามพระราชบัญญัติมาตรฐาน สินค้าเกษตร พ.ศ. 2551. 2563, น. 3) โดยมีมาตรฐานที่ต้องปฏิบัติตาม มกษ. 7436 - 2563 ดังนี้ (1) สถานที่ ต้องไม่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห้ามเลี้ยงสัตว์น้ำตามที่กฎหมายกำหนด และอยู่ ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนที่จะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและความปลอดภัยของ ผู้บริโภค มีความเหมาะสมต่อการเลี้ยงสัตว์น้ำแต่ละชนิด (2) การจัดการเลี้ยง ต้องจัดการเลี้ยงที่ดีในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อช่วยให้สัตว์ น้ำเจริญเติบโตดี แข็งแรง ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค การแพร่กระจายของโรค สามารถป้องกันการ ปนเปื้อน ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพสัตว์น้ำและความปลอดภัยของผู้บริโภค (3) การจัดการสุขภาพสัตว์น้ำ จัดการดูแลสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม เพื่อให้สัตว์น้ำ เจริญเติบโตดี แข็งแรง และมีคุณภาพ หากพบว่าสัตว์น้ำมีอาการผิดปกติ ควรพิจารณาด้านการจัดการ ก่อนใช้ยาสัตว์และสารเคมีรวมถึงควรตรวจหาสาเหตุเบื้องต้น พร้อมทั้งบันทึกข้อมูลความผิดปกติและ วิธีการแก้ไข หากสัตว์น้ำตายเป็นจำนวนมากผิดปกติหรือสงสัยว่าสัตว์น้ำตายจากโรค ต้องแจ้ง เจ้าหน้าที่เพื่อหาสาเหตุ มีวิธีการจัดการซากและน้ำทิ้งอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย ของโรค (4) การใช้ยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพ ห้ามใช้ยาสัตว์และสารเคมี ต้องห้ามตามประกาศของราชการ กรณีมีการใช้ยาสัตว์หรือสารเคมีหรือผลิตภัณฑ์จุลชีพ ต้องใช้ชนิดที่ อนุญาตให้ใช้ได้ตามกฎหมายและขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง ปฏิบัติตามวิธีการใช้และมีระยะหยุดยา ตามที่ระบุในฉลาก หรือคำแนะนำของสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่กรมประมง รวมทั้งควรเก็บยาสัตว์ สารเคมี และผลิตภัณฑ์จุลชีพในที่ที่สามารถป้องกันการเสื่อมสภาพและการเข้าถึงของผู้ที่ไม่ได้รับ อนุญาต (5) สุขลักษณะภายในฟาร์ม ห้องน้ำต้องถูกสุขลักษณะ และมีการป้องกันการ ปนเปื้อนลงสู่ระบบการเลี้ยง ควรมีการจัดการขยะมูลฝอย ของเสีย และภาชนะบรรจุ ยาสัตว์ หรือ สารเคมีอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสู่ระบบการเลี้ยงสัตว์ ผลิตผล และสภาพแวดล้อม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3