การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

41 สิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษ ที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม และข้อ 3 ห้ามมิให้ เจ้าของ หรือผู้ครอบครองบ่อเพาะเลี้ยงปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม เว้น แต่จะได้ทำการบำบัดน้ำเสียให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชายฝั่ง 2. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “กำหนดมาตรฐาน ควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง” (ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง. 2547 , น. 1) ข้อ 2 ให้กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งซึ่งมีพื้นที่บ่อ ตั้งแต่ 10 ไร่ ขึ้นไป ไว้ดังต่อไปนี้ 1) ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) 6.5 – 9.0 2) บีโอดี ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร 3) สารแขวนลอย ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่อลิตร 4) แอมโมเนีย ไม่เกิน 1.1 มิลลิกรัม ไนโตรเจนต่อลิตร 5) ฟอสฟอรัสรวม ไม่เกิน 0.4 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร 6) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไม่ เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร 7) ไนโตรเจนรวม ไม่เกิน 4.0 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร 2.6.4 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หากสถานที่ใดอยู่ในทำเลไม่เหมาะสม สกปรก มีการสะสมหรือหมักหมมสิ่งของมีการ เททิ้งสิ่งใดเป็นเหตุให้มีกลิ่นเหม็น หรือการกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น ตนอาจเป็นเหตุให้ เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ถือว่าเป็นเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือเพื่อระงับ กำจัด และควบคุมเหตุรำคาญ ต่าง ๆ ได้ หากไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง โดยไม่มีเหตุผลหรือข้อแก้ตัวอันสมควรจะมีโทษตามกฎหมายด้วย (พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535. 2535, น. 35-36) 2.6.5 พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 อ ง ค์ ก า รบ ริ ห า ร ส่ ว น ต ำบ ล มี ห น้ าที่ ต้ อ งคุ้ ม ค ร อ ง ดู แ ล แ ล ะบ ำ รุ ง รั ก ษ า ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 67 (7) พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การ บริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งหมายความว่าหากมีปัญหาเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งเป็นราชการส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุดและมีผู้นำหรือนายกที่มาจากการเลือกตั้ง ของประชาชนในพื้นที่ ก็จะมีอำนาจเข้าไปคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537. 2537)

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3