การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย การศึกษาและวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการค้นหาคำตอบอันเป็นเป้าหมายหลัก คือ มาตรการ ทางกฎหมายกรณีควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล คำตอบ ดังกล่าวนี้ย่อมจะมาจากการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการวิจัย ( Research Methodology) ที่กำหนดไว้ ดังนั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์หาคำตอบ จึงได้กำหนด ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) และการวิจัยภาคสนาม (Field Research) ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In – depth Interview) ข้อมูลที่ได้จากการใช้วิธีการวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อหา แนวทางปรับปรุงและเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาให้เกิดความยั่งยืน และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อชาวบ้านและไม่ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1 การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นเอกสาร โดยกำหนดประเภทของเอกสารและประเด็นที่ ต้องการใช้ในการวิเคราะห์ คือ กฎหมายประมง กฎหมายสิ่งแวดล้อม กฎหมายสาธารณสุข กฎหมาย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องในลักษณะของการทบทวนวรรณกรรมที่เป็น แนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รวมทั้ง รายงานวิจัย ตำรา และบทความทั้งของไทยและต่างประเทศ ข้อมูลเอกสารที่ได้มา มีทั้งข้อมูลปฐมภูมิ (Primary data) ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่ เกี่ยวข้องกับมาตรการทางกฎหมายกรณีควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้งทะเล เอกสารที่ทบทวนและวิเคราะห์นั้นได้กำหนดประเด็นหัวข้อ กล่าวคือ แนวคิด ทฤษฎี หลักการและรูปแบบวิธีเลี้ยงกุ้งทะเล แนวคิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หลักการควบคุมและลดมลพิษ สิ่งแวดล้อม แนวคิดว่าด้วยรัฐและอำนาจหน้าที่รัฐ แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชน กฎหมายไทย และต่างประเทศ ดังต่อไปนี้ 1) กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 2) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติม ถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 3) พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3