การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทที่ 4 ผลการวิจัย การเลี้ยงกุ้งทะเลมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยและสร้างรายได้ให้กับ ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งทะเลและทำให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพและมีรายได้ แต่อย่างไรก็ตามการเลี้ยง กุ้งทะเลก็ยังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเฉพาะน้ำเสียที่เกิดจากวิธีเลี้ยงกุ้งทะเลหรืออาหารที่ กุ้งทะเลกินไม่หมดหรือของเสียจากการขับถ่ายของกุ้งทะเล หรือการใช้สารเคมีในกระบวนการเลี้ยงกุ้ง ทะเล รวมทั้งกุ้งทะเลที่หลงเหลือจากการจับขายจะตายอยู่ในบ่อเกิดกลิ่นส่งผลกระทบต่อชุมชน ดังนั้นบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลจึงเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางน้ำ มลพิษทาง ดิน และมลพิษต่อชุมชน ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรดิน แหล่งน้ำสาธารณะ และชุมชน เช่น ปัญหาน้ำ เน่าเสีย ปัญหากลิ่นที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศชายฝั่ง ซึ่งเป็น ปัญหาสะสมและส่งผลกระทบในระยะยาว แม้รัฐจะมีกฎหมายใช้บังคับเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ แล้วก็ตาม แต่ ณ ปัจจุบันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวยังคงมีอยู่ การศึกษามีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์ เพื่อหาคำตอบในประเด็นการกำหนดค่ามาตรฐานการ ควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ของการเลี้ยงกุ้งทะเล ประเด็นการแก้ไขเรื่องกลิ่นของ กุ้งทะเลที่เหลือจากการจับแล้วตายในบ่อก่อให้เกิดกลิ่นส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพของ ชุมชนท้องถิ่น และการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานผู้รับผิดชอบ นำไปสู่การปรับปรุงมาตรการทาง กฎหมายเพื่อควบคุมมิให้เกิดผลกระทบที่มีต่อแหล่งน้ำสาธารณะ พื้นดินและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 4.1 การกำหนดค่ามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ของ การเลี้ยงกุ้งทะเล ก่อนที่จะอธิบายว่าการกำหนดค่ามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ ของการเลี้ยงกุ้งทะเลอย่างไรนั้น ผู้วิจัยจะศึกษาให้เห็นถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุม ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล โดยจะศึกษาถึงการควบคุมโดย กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม การควบคุมโดยกำหนดห้าม มิให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่กำหนด การควบคุมโดยกำหนดให้การเลี้ยงกุ้งทะเลต้อง แจ้งการประกอบกิจการต่อเจ้าหน้าที่ การควบคุมโดยกำหนดให้การเลี้ยงกุ้งทะเลต้องปฏิบัติตาม

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3