การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
53 เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อนำไปสู่ปัญหาการกำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง ในพื้นที่ของผู้เลี้ยงกุ้งทะเลในประเด็นสุดท้าย 4.1.1 การเลี้ยงกุ้งทะเลกำหนดให้เป็นประเภทควบคุม การเลี้ยงกุ้งทะเลในประเทศไทย ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลนิยมเลี้ยงกุ้งทะเล 3 สายพันธุ์ ได้แก่ กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย และกุ้งขาว ซึ่งนิยมเลี้ยงกุ้งทะเลในระบบปิดในบ่อดินใกล้กับ ทะเลหรือแหล่งน้ำสาธารณะมากกว่าเลี้ยงในทะเลโดยตรง การเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ส่งผลดี ต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะใช้บริโภคทั้งภายในหรือส่งออกไปยังต่างประเทศ รวมทั้ง ส่งผลดีต่อชุมชนก่อให้เกิดรายได้และอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงกุ้งทะเลมากมาย เช่น อาชีพค้าขาย อุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ อาหาร ยาป้องกันโรค ยาบำรุงที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้ง หรืออาชีพรับจ้างเลี้ยงกุ้งทะเล อาชีพรับจ้างจับกุ้ง รวมทั้งอาชีพค้าขายกุ้งทะเล เป็นต้น อย่างไรก็ตามการเลี้ยงกุ้งทะเลในบ่อดินใกล้ กับชายฝั่งทะเลหรือแหล่งน้ำสาธารณะเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ทรัพยากรน้ำ ทรัพยากรดิน รวมทั้งส่งผลกระทบต่อชุมชน เป็นต้น กฎหมายที่เข้ามาควบคุมการเลี้ยงกุ้งทะเล คือ พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งตามมาตรา 76 กำหนดว่า เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำให้มีคุณภาพป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตรายต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจกรรมของบุคคล อื่น ให้ออกกฎกระทรวงกำหนดชนิดหรือลักษณะของสัตว์น้ำ หรือประเภท รูปแบบขนาด หรือ วัตถุประสงค์ของกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 76 แห่งพระ ราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ออกกฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็น กิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล เป็นกิจการการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (กฎกระทรวงกำหนดกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นกิจการการ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม พ.ศ. 2559. 2559, น. 1) หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลและควบคุมการเลี้ยงกุ้งทะเล คือ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งใช้อำนาจภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 โดยมอบ อำนาจหน้าที่ให้กับส่วนราชการภูมิภาคในสังกัดของกรมประมง กล่าวคือ สำนักงานประมงจังหวัดกับ สำนักงานประมงอำเภอ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลและควบคุมการเลี้ยงกุ้งในส่วนจังหวัดและอำเภอ (กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563. 2563, น. 1,14- 18)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3