การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
54 จะเห็นได้ว่ารัฐได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อยกระดับให้การเลี้ยงกุ้งทะเล เป็น กิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม รวมทั้งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลและควบคุมการเลี้ยงกุ้งทะเล คือ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และราชการส่วนภูมิภาคในสังกัด คือสำนักงานประมง จังหวัดและสำนักงานประมงอำเภอ เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้มีคุณภาพ สามารถป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรืออันตรายต่อผู้บริโภค หรือต่อกิจการของบุคคลอื่น 4.1.2 การเลี้ยงกุ้งทะเลจำกัดให้เลี้ยงในเขตพื้นที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัด กำหนด เมื่อการเลี้ยงกุ้งทะเลถูกกำหนดให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมแล้ว คณะกรรมการการประมงประจำจังหวัดนั้น ๆ ซึ่งแต่งตั้งตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีอำนาจกำหนดห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่คณะกรรมการ การประมงประจำจังหวัดประกาศให้เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งการกำหนดดังกล่าวเป็นไปตาม มาตรา 77 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กรณีจังหวัดสงขลาที่คณะกรรมการการประมงประจำจังหวัดสงขลาได้ประกาศห้ามมิ ให้ผู้ประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่กำหนด เป็นข้อมูลศึกษา ซึ่ง คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลาได้ออกประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง “กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการ เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2561” กำหนดให้พื้นที่ของจังหวัดสงขลาดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดยการกำหนดพื้นที่ ดังกล่าวของคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลาครอบคลุมใน 10 อำเภอ ได้แก่ 1) อำเภอ เทพา มี 4 ตำบล 2) อำเภอเมืองสงขลา มี 2 ตำบล 3) อำเภอกระแสสินธุ์ มี 3 ตำบล 4) อำเภอควน เนียง มี 4 ตำบล 5) อำเภอจะนะ มี 5 ตำบล 6) อำเภอระโนด มี 9 ตำบล 7) อำเภอสทิงพระ มี 10 ตำบล 8) อำเภอหาดใหญ่ มี 2 ตำบล 9) อำเภอบางกล่ำ มี 2 ตำบล และ 10) อำเภอสิงหนคร มี 7 ตำบล (ประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับ กิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2561. 2561, น. 36-38) ในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ถูกกำหนดให้เป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลาได้ประกาศ เป็นพื้นที่ ที่อยู่ใกล้กับทะเลหรือมีแหล่งน้ำสาธารณะที่เชื่อมไปยังทะเล ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงกุ้งทะเล ทั้งนี้ กุ้งทะเลเป็นสัตว์ที่อาศัยน้ำที่มีค่าความเค็มใกล้เคียงกับทะเลในการดำรงชีวิต ซึ่งน้ำเค็มส่งผล กระทบต่อการเกษตรและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของดิน ดังนั้น เพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาการใช้ ความเค็มในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่น้ำจืดซึ่งเป็นเหตุให้เกิดภาวะมลพิษ ทั้งมลพิษน้ำและมลพิษ ในดิน เกิดสภาวะขาดความสมดุลตามธรรมชาติก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3