การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

61 สภาพสิ่งแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการให้กลับสู่สภาพธรรมชาติ ตามมาตรา 149 แห่ง พระราชกำหนดเดียวกัน สำหรับข้อกำหนดตามมาตรา 78 (4) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ที่กำหนดห้ามมิให้ใช้ยา และเคมีภัณฑ์ หากไม่ปฏิบัติตตามต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สามหมื่น บาทถึงสามแสนบาท ตามมาตรา 150 แห่งพระราชกำหนดเดียวกัน ในบทกำหนดโทษที่กล่าวมา ข้างต้นผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตว่ากฎหมายดังกล่าวมิได้บัญญัติโทษจำคุกที่จะลงโทษแก่ผู้กระทำผิดไว้ นอกจากนี้ ป ระ เด็น เรื่อ งปล่อยน้ ำจากบ่อ เลี้ยงกุ้ งทะ เลยั งถูกควบคุมต าม พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ซึ่งการเลี้ยงกุ้งทะเลถูก กำหนดให้เป็นแหล่งกำหนดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือ ออกสู่สิ่งแวดล้อมตาม 1) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “กำหนดให้บ่อ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเป็นแหล่งกำหนดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำ สาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม” โดยกำหนดให้บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่ จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อมที่กำหนดให้บ่อ เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป เป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการ ปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม และห้ามมิให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครองบ่อ เพาะเลี้ยงปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม เว้นแต่จะได้ทำการบำบัดน้ำเสีย ให้เป็นไปตามมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง และ 2) ประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง “กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจาก บ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง” ที่กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ชายฝั่งซึ่งมีพื้นที่บ่อตั้งแต่ 10 ไร่ ขึ้นไป ไว้ดังต่อไปนี้ 1) ค่าความเป็นกรดและด่าง (pH) 6.5 – 9.0 2) บีโอดี ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อลิตร 3) สารแขวนลอย ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่อลิตร 4) แอมโมเนีย ไม่ เกิน 1.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร 5) ฟอสฟอรัสรวม ไม่เกิน 0.4 มิลลิกรัมฟอสฟอรัสต่อลิตร 6) ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไม่เกิน 0.01 มิลลิกรัมต่อลิตร 7) ไนโตรเจนรวม ไม่เกิน 4.0 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อ ลิตร ประกาศทั้งสองฉบับออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 69 ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอำนาจกำหนดประเภทของแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูก ควบคุมการปล่อยน้ำเสีย หรือของเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ โดยมีกรมควบคุมมลพิษเป็นหน้าที่และ อำนาจเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษ ซึ่งเป็นอำนาจโดยทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลมลพิษทางน้ำ เป็นการ กำหนดค่ามาตรฐานกลางสำหรับการควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งโดย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3