การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

62 กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งซึ่งมีพื้นที่บ่อตั้งแต่ 10 ไร่ ขึ้นไป หากหน่วยงานใดมีอำนาจตามกฎหมายอื่นก็สามารถกำหนดค่ามาตรฐานการระบายน้ำทิ้งที่สูง กว่าหรือแตกต่างไปจากประกาศฉบับดังกล่าวได้ 4.1.5 กำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งในพื้นที่ของผู้เลี้ยงกุ้งทะเล จากการศึกษามาตรการควบคุมการเลี้ยงกุ้งทะเลที่กำหนดให้การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็น กิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม กำหนดห้ามมิให้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมนอกเขตพื้นที่ที่กำหนด ให้การเลี้ยงกุ้งทะเลต้องแจ้งการประกอบกิจการต่อเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้การเลี้ยงกุ้งทะเลต้อง ปฏิบัติตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดนั้น จะพบว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้กำหนดมาตรการทาง กฎหมายเพื่อควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งมี กฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับจำนวนมาก ครอบคลุมทุกกระบวนการ ดังนั้น หากผู้ประกอบ กิจการทำครบถ้วนแล้ว ปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมควรหายไป แต่ปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม ยังคงมีอยู่ ผู้วิจัยจึงเห็นว่ามีสาเหตุมาจากค่ามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่สอดคล้องกับ พื้นที่ของการเลี้ยงกุ้งทะเล การกำหนดค่ามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ของการ เลี้ยงกุ้งทะเล กล่าวคือ ตามประกาศกรมประมง เรื่อง “ข้อกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทะเลซึ่งเป็นกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุมภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตามมาตรา 77 แห่งพระ ราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ต้องปฏิบัติ พ.ศ. 2562” ซึ่งประกาศฉบับดังกล่าวออกโดยอาศัย อำนาจข้อกำหนดตามมาตรา 78 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ยังมีช่องว่างทาง กฎหมาย กรณีปัญหาการกำหนดค่ามาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ของ การเลี้ยงกุ้งทะเล ตามมาตรฐานการจัดการน้ำทิ้งสำหรับพื้นที่บ่อต่ำกว่า 10 ไร่ โดยกำหนดมาตรฐาน ในการควบคุมการระบายน้ำทิ้งไว้เพียงเล็กน้อย ซึ่งกำหนดไว้เฉพาะค่าความเป็นกรดและด่าง และ ความเค็มเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงประเด็นของสารเคมีสารอื่น ๆ ที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงกุ้ง ทะเลด้วย หากเปรียบเทียบกับพื้นที่บ่อตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป จะปรากฏว่าได้กำหนดค่ามาตรฐานควบคุม การระบายน้ำทิ้งอย่างละเอียดครอบคลุมในทุกด้านทุกมิติ ครอบคลุมในประเด็นของสารเคมีและสาร อื่น ๆ ที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงกุ้งทะเลด้วย ได้แก่ บีโอดี สารแขวนลอย แอมโมเนีย ฟอสฟอรัส รวม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนรวม ซึ่งในการเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ว่าพื้นที่เลี้ยงกุ้งจะมีขนาดเท่าใดก็ตาม การใช้สารเคมี และสารอื่นๆ ที่เกิดจากกระบวนการเลี้ยงกุ้งไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีการ ควบคุมค่ามาตรฐานการระบายน้ำทิ้งที่เหมือนกัน เพราะค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอาจ สร้างปัญหาและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ จะเห็นได้ว่าประกาศกรมประมงดังกล่าว ยังมีปัญหา

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3