การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
64 จากสภาพปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้เมื่อผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลที่มี พื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งต่ำกว่า 10 ไร่ แม้จะได้ปฏิบัติตามประกาศกรมประมงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่า มาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งทุกประการก่อนระบายน้ำจากการเลี้ยงกุ้งลงสู่แหล่ งน้ำ สาธารณะ ก็จะมีสารเคมี หรือสารที่เกิดจากการสะสมของของเสียจากการเลี้ยงกุ้งต่าง ๆ หลงเหลืออยู่ เนื่องจากค่ามาตรฐานในกรณีบ่อต่ำกว่า 10 ไร่ มิได้กำหนดครอบคลุมในประเด็นของสารเคมีและสาร อื่น ๆ ได้แก่ บีโอดี สารแขวนลอย แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสรวม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนรวม ซึ่ง กำหนดแค่เพียงประเด็นของความเป็นกรดและด่าง กับค่าความเค็มเท่านั้น จึงทำให้เมื่อระบายน้ำทิ้ง จะมีบีโอดี สารแขวนลอย แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสรวม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนรวม อยู่ในน้ำที่ ซึ่ง กรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเด็นของน้ำเสีย หรือมลพิษทางน้ำ หรือมีสารเคมี เจือปนหรือปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะ ส่งผลต่อกระทบสิ่งแวดล้อม มนุษย์ ชุมชน หรือแม้แต่ผู้ ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ แหล่งน้ำสาธารณะที่ใช้ในการเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ภาพถ่ายคลองสาธารณะในพื้นที่ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด ของผู้วิจัย 23/10/2564 ผู้วิจัยตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าสำหรับประเด็นการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามค่า มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งก่อนปล่อยออกจากสถานประกอบกิจการ กฎหมายไม่ได้บังคับให้ การเลี้ยงกุ้งทะเลต้องจัดให้มีบ่อบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อทำหน้าที่บำบัดน้ำให้มีคุณภาพที่เหมาะสม หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องมีบ่อบำบัดน้ำทิ้งก็ได้ แต่ก่อนระบายน้ำทิ้งต้องมีมาตรฐานตามที่กฎหมาย กำหนด ซึ่งอาจสอดคล้องกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ให้ผู้เลี้ยงกุ้งมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ร่วมลงมือทำ ร่วมแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายซึ่งไม่จำเป็นต้องออกเป็นบทบัญญัติของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3