การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
67 ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 25 กำหนดอำนาจหน้าที่แก้ไขปัญหา หากเป็นกรณีมีเหตุรำคาญอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ ต้องประสบกับเหตุการณ์กระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ถือว่าเป็น เหตุรำคาญ เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความถึง 1) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสำหรับในเขต องค์การบริหารส่วนจังหวัด 2) นายกเทศมนตรีสำหรับในเขตเทศบาล 3) นายกองค์การบริหารส่วน ตำบลสำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล 4) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครสำหรับในเขต กรุงเทพมหานคร 5) นายกเมืองพัทยาสำหรับในเขตเมืองพัทยา ซึ่งก็คือ ผู้บริหารของราชการส่วน ท้องถิ่นนั้นเอง อำนาจหน้าที่ดังกล่าวก็สอดคล้องกับพระราชบัญญัติจัดตั้งของท้องถิ่นนั้น ๆ ซึ่ง ยกตัวอย่างอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล กล่าวคือ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและ องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามมาตรา 67 (7) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ ต้องคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายความว่าหากมีปัญหา เกี่ยวกับกลิ่นที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลก็จะมีอำนาจเข้าไป คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ มีข้อสังเกตว่าไม่มีบทบัญญัติ มาตราใดของพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ที่กำหนดอำนาจ หน้าที่ในการกำกับ ควบคุมและดูแลเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ประกอบกับไม่มีเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญ หรือความเข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งทะเล หากมีปัญหาเรื่องกลิ่นเกิดขึ้นไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากเรื่องใดก็ตามเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญรวมทั้งให้ระงับเหตุรำคาญด้วย โดยมีอำนาจ มาตรา 26 ที่จะออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับเหตุรำคาญภายใน เวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อระงับเหตุรำคาญ นั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคต ให้ระบุไว้ในคำสั่งได้ หาก ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน สองหมื่นห้าพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 74 พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 2. อำนาจหน้าที่ของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรณีแก้ไขปัญหาเรื่อง กลิ่น ตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 78 (7) ได้บัญญัติให้อธิบดีกรมประมงมี อำนาจประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลต้องปฏิบัติ โดยสามารถกำหนดเรื่องอื่น ใดที่จำเป็นในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตรายต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจการของบุคคล อื่นได้ ซึ่งประเด็นเรื่องกลิ่นที่เกิดจากกุ้งที่ตายหลังจับก็เป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและกิจการของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3