การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
68 บุคคลอื่นด้วย แต่จากการศึกษาไม่ปรากฏว่าอธิบดีกรมประมงได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องมารองรับ การจัดการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากการตายของกุ้งในบ่อหลังจับ เมื่อไม่มีประกาศที่ออกโดย อธิบดีกรมประมงในเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของกุ้งที่ตายในบ่อหลังจับกุ้งทะเล จึงทำให้กรม ประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และส่วนราชการในสังกัด ไม่มีอำนาจเข้าไปดำเนินการควบคุม หรือแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นได้โดยปริยาย จะเห็นได้ว่ากระบวนการเลี้ยงกุ้งถูกควบคุมโดยพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ตั้งแต่กระบวนการแจ้งการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การควบคุมกระบวนการเลี้ยงกุ้งใน ระหว่างเลี้ยง ตลอดไปจนถึงการควบคุมการระบายน้ำทิ้งเพื่อจับกุ้งทะเล กฎหมายดังกล่าว เปรียบเสมือนต้นทาง กลางทาง และปลายทางของการเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งทำหน้าที่กำกับ ควบคุม และ ดูแลการเลี้ยงกุ้งทะเล โดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่วน ราชการในสังกัด คอยทำหน้าที่กำกับ ควบคุม และดูแลการเลี้ยงกุ้งทะเลในส่วนจังหวัดและอำเภอ (กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2563 : 1 ,14-18) ซึ่ง หน่วยงานดังกล่าวมีความรู้ ความเข้าใจ และความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเลี้ยงกุ้งทะเลมากที่สุด ค่อยทำหน้าที่ควบคุมการเลี้ยงกุ้งทะเลมิให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ และสามารถอยู่ รวมกันกับชุมชนได้ จากสภาพปัญหาดังที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่าอำนาจในการแก้ไขปัญหาเรื่องของ กลิ่นที่เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 โดยเจ้าพนักงานส่วน ท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายดังกล่าว ซึ่งเป็นอำนาจในการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นโดยทั่วไป มิได้เฉพาะเจาะจงกับปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากกุ้งที่ตายในบ่อหลังจับกุ้งทะเล โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่น มิได้มีความเชี่ยวชาญ หรือความเข้าใจในบริบทของการเลี้ยงกุ้งทะเล เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีอำนาจ เข้าไปกำหนดมาตรการใด ๆ หากไม่มีเหตุเรื่องกลิ่นเกิดขึ้น ซึ่งจะมีอำนาจแก้ไขปัญหาก็ต่อเมื่อมีปัญหา เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์หลักคือการแก้ไขปัญหาเรื่อง กลิ่นให้สิ้นสุดลงเพียงเท่านั้น เป็นการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุเพื่อระงับปัญหา ฉะนั้นหากแก้ไขปัญหา เรื่องดังกล่าวไม่ถูกวิธีอาจกระทบต่อการเลี้ยงกุ้งทะเลในระยะยาวได้ จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่าควรให้การแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของกุ้ง ทะเลที่เหลือจากการจับแล้วตายในบ่อเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่วนราชการในสังกัด เพื่อที่จะสามารถหาวิธีการหรือกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อรองรับปัญหาที่จะ เกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งตามมาตรา 78 (7) แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ก็เปิดช่องให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3