การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

69 ทะเลต้องปฏิบัติ โดยกำหนดเรื่องอื่นใดที่จำเป็นในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตราย ต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจการของบุคคลอื่นได้ ซึ่งเรื่องของกลิ่นที่กระทบต่อชุมชนก็เข้าข่ายที่สามารถออก ประกาศรองรับได้ ดังนั้น หากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ที่คอย ควบคุมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางของการเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ ความ เชี่ยวชาญและความเข้าใจกระบวนการเลี้ยงกุ้งทะเล มีอำนาจหน้าที่เข้าไปกำกับ ควบคุมและแก้ไข ปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากการตายของกุ้งทะเลที่เหลือจากการจับ จะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไข ปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้งทะเลในระยะยาวได้ และทำให้การเลี้ยงกุ้งก็สามารถดำเนินการ ไปได้และอยู่รวมกันกับชุมชนได้รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบในเรื่องกลิ่นต่อชุมชน นอกจากนี้ จากการศึกษาพบว่ากรณีที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดออก ประกาศตามมาตรา 77 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนด ให้พื้นที่ใดเป็นเขต เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดยห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงนอกเขตที่ กำหนดไว้ เช่นประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง “กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์ น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2561 ” กำหนดให้พื้นที่ของจังหวัดสงขลาดังต่อไปนี้ เป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำควบคุม ประเภท การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล โดยการกำหนดพื้นที่ครอบคลุมใน 10 อำเภอ ได้แก่ 1) อำเภอเทพา 2) อำเภอเมืองสงขลา 3) อำเภอกระแสสินธุ์ 4) อำเภอควนเนียง 5) อำเภอจะนะ 6) อำเภอระโนด 7) อำเภอสทิงพระ 8) อำเภอหาดใหญ่ 9) อำเภอบางกล่ำ และ 10) อำเภอสิงหนคร แสดงให้เห็นว่าเป็นการกำหนดพื้นที่โดยกว้าง ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะห่างของบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลว่าต้องมี ระยะห่างจากชุมชนเพียงใด หากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลอยู่ใกล้กับชุมชนมากจนเกินไปก็จะ เกิดปัญหา ผลกระทบในด้านของกลิ่นของกุ้งทะเลที่หลงเหลือจากการจับแล้วตายในบ่อ ส่งผลกระทบต่อชุมชนได้ ดังนั้น การกำหนดระยะห่างจากชุมชนของบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นอีกวิธีที่จะลดผลกระทบในด้านกลิ่นต่อ ชุมชนได้ 4.2.2 การบังคับใช้กฎหมายกับผู้เลี้ยงกุ้งทะเล กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับที่ผู้มีอำนาจได้ตราขึ้น เพื่อควบคุมพฤติกรรมของ ประชาชนและรักษาความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนย่อมได้รับการลงโทษ กฎหมายเป็นเครื่องมือ ของรัฐที่ใช้จัดระเบียบการอยู่ร่วมกันของประชาชนและความเป็นระเบียบของบุคคลทุกชนชั้น โดยได้ กำหนดสิทธิ หน้าที่และเสรีภาพ จากการที่กฎหมายมีวัตถุประสงค์มุ่งคุ้มครองความเป็นระเบียบ เรียบร้อยและความสงบสุขของสังคม เป็นฐานรองรับการใช้อำนาจที่สำคัญที่จะนำมาใช้บังคับให้มี ประสิทธิภาพต่อการควบคุมปัญหาของสังคม รวมทั้งบรรทัดฐานที่กำหนดไว้ให้ต้องถือปฏิบัติและ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3