การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

70 บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ดังนั้นกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับและเจ้าหน้าที่ของรัฐควรบังคับ ใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด การกำหนดกฎหมายต้องมีความชัดเจน มีความเฉพาะ มีหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ที่ ชัดเจนที่มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุม กำกับดูแลในประเด็นเดียวกันหรือประเด็นที่สืบเนื่องกันควรอยู่ ภายใต้กฎหมายฉบับเดียวกันไม่กระจัดกระจายออกเป็นกฎหมายหลายฉบับ แต่ควรอยู่ภายใต้ กฎหมายฉบับเดียวกันเลย ซึ่งประเด็นกลิ่นของกุ้งทะเลที่เหลือจากการจับแล้วตายในบ่อก่อให้เกิดกลิ่น ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพของชุมชนท้องถิ่นยังมีการกระจัดกระจายของกฎหมายใน ส่วนของอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาในเรื่องดังกล่าว การควบคุมการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ตามพระราชบัญญัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ. 2548 ของราชอาณาจักร นอร์เวย์ (The Norwegian Aquaculture Act. 2005) บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ไว้โดยเฉพาะ เป็นเอกเทศจากกฎหมายฉบับอื่น ๆ โดยบัญญัติควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทุก ประเภท ซึ่งการเลี้ยงกุ้งทะเลก็เป็นการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่อยู่ภายใต้กฎหมายดังกล่าวด้วย กำหนดว่า การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องได้รับอนุญาตประกอบกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จำกัดพื้นที่เพาะเลี้ยงทาง ภูมิศาสตร์ ขอบเขตและระยะเวลา กำหนดว่าการเลี้ยงต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับ แผนพื้นที่และมาตรการอนุรักษ์ได้ดำเนินการถ่วงดุลผลประโยชน์พื้นที่ ก่อนที่จะออกใบอนุญาต ตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมก่อน และแม้จะได้รับใบอนุญาตแล้วก็สามารถอาจถูกเพิกถอนใบอนุญาต เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำหากก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง ประการที่สำคัญ คือ พระราชบัญญัติดังกล่าวจะเห็นถึงความสำคัญของการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม โดย กำหนดให้บุคคลใดก็ตามที่ดำเนินกิจกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต้องฟื้นฟูพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง หาก หยุดการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วน รวมถึงการกำจัดสิ่งมีชีวิต สิ่งติดตั้ง อุปกรณ์ ฯลฯ จะเห็นได้ว่า พระราชบัญญัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ. 2548 ของราชอาณาจักรนอร์เวย์ (The Norwegian Aquaculture Act. 2005) เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับกฎหมายของประเทศไทยจะพบว่า กฎหมาย ของประเทศไทยไม่ได้มีกฎหมายเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไว้โดยเฉพาะ ซึ่งการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล บัญญัติอยู่ในพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 รวมกับการทำการประมงประเภทอื่น ๆ ด้วย การแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากกุ้งที่ตายหลังจับก็ไปใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งเกิดการกระจัดกระจายของกฎหมาย และที่สำคัญไปกว่านั้นแต่ละกฎหมายกำหนดผู้ที่มีอำนาจ หน้าที่แตกต่างกันไปแต่ละคน จึงเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพราะความไม่ชัดเจนใน การปฏิบัติหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3