การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

71 แต่อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงกุ้งทะเลนอกจากจะต้องมีกฎหมายและเจ้าหน้าที่ควบคุมไว้ โดยเฉพาะ มีมาตรการควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องบังคับใช้ กฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถควบคุมและแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่ จะเกิดขึ้นได้ ประการที่สำคัญอีกที่ขาดไม่ได้ คือ ต้องอาศัยความร่วมมือของผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่ต้องเข้า มามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะทำให้เกิดการร่วมคิด ร่วมตัดสินใจ ร่วมแก้ไขปัญหา รวมไป ถึงร่วมพัฒนาด้วย นำไปสู่วางแผน จัดรูปแบบ การกำหนดกฎเกณฑ์ หรือกรอบปฏิบัติของผู้เลี้ยงกุ้ง ทะเล สามารถวางเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนที่เกิดจากการ ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลได้ จึงสรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมผู้เลี้ยงกุ้งทะเล เป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่า กฎหมายและมาตรการบังคับทางกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่ หากมีกฎหมายแต่ผู้เลี้ยงกุ้งไม่ให้ ความร่วมมือ ผู้เลี้ยงกุ้งทะเลยังลักลอบกระทำผิดต่อกฎหมาย ไม่ว่ารัฐจะกระทำการใด ๆ ก็บรรลุผล สำเร็จได้ยาก หรืออาจบรรลุผลสำเร็จ แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่อาจตอบสนองสิ่งที่ประชาชนต้องการได้ ดังนั้นเพื่อให้การแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของการเลี้ยงกุ้งทะเลสำเร็จลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน และสามารถทำให้การเลี้ยงกุ้งทะเลดำรงอยู่คู่กับชุมชนไปตลอดกาล ความร่วมมือของผู้ เลี้ยงกุ้งจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3