การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

73 โดยกำหนดมาตรฐานในการควบคุมการระบายน้ำทิ้งไว้เพียงเล็กน้อย กำหนดไว้เฉพาะค่าความเป็น กรดและด่าง และความเค็มเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงประเด็นของสารเคมีหรือสารอื่น ๆ แต่เมื่อ เปรียบเทียบกับพื้นที่บ่อตั้งแต่ 10 ไร่ขึ้นไป ที่กำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งอย่าง ละเอียดครอบคลุมในทุกด้านทุกมิติ ครอบคลุมในประเด็นของสารเคมีและสารอื่น ๆ ที่เกิดจาก กระบวนการเลี้ยงกุ้งทะเล ด้วย ได้แก่ บีโอดี สารแขวนลอย แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสรวม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนรวม ซึ่งในการเลี้ยงกุ้งทะเลที่เป็นสัตว์น้ำควบคุมไม่ว่าพื้นที่เลี้ยงกุ้งจะมี ขนาดเท่าใดก็ตามการใช้สารเคมี และกระบวนการเลี้ยงที่ไม่ได้แตกต่างกัน ดังนั้น จำเป็นต้องมีการ ควบคุมค่ามาตรฐานการระบายน้ำทิ้งที่เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าประกาศกรมประมงฉบับดังกล่าวที่ออก โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ยังมีปัญหาและมีช่องว่างการกำหนดค่า มาตรฐานการควบคุมการระบายน้ำทิ้งที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งยังไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่กำหนดให้รัฐต้องคุ้มครอง บำรุงรักษา บริหารจัดการใช้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืนอีกด้วย จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงทำให้เมื่อผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลที่มีพื้นที่บ่อ เลี้ยงกุ้งต่ำกว่า 10 ไร่ แม้จะได้ปฏิบัติตามประกาศกรมประมงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับค่ามาตรฐานการ ควบคุมการระบายน้ำทิ้งทุกประการก่อนระบายน้ำจากการเลี้ยงกุ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ก็จะมี สารเคมี หรือสารที่เกิดจากการสะสมของของเสียจากการเลี้ยงกุ้งต่าง ๆ หลงเหลืออยู่ เนื่องจากค่า มาตรฐานในกรณีบ่อต่ำกว่า 10 ไร่ มิได้กำหนดครอบคลุมในประเด็นของสารเคมีและสารอื่น ๆ ได้แก่ บีโอดี สารแขวนลอย แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสรวม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนรวม ซึ่งกำหนดแค่เพียง ประเด็นของความเป็นกรดและด่าง กับค่าความเค็มเท่านั้น จึงทำให้เมื่อระบายน้ำทิ้งจะมีบีโอดี สาร แขวนลอย แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสรวม ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไนโตรเจนรวม อยู่ในน้ำที่ปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ สาธารณะ ซึ่งกรณีดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในประเด็นของน้ำเสีย หรือมลพิษทางน้ำ หรือมีสารเคมีเจือปนหรือปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะ ส่งผลต่อกระทบสิ่งแวดล้อม มนุษย์ ชุมชน หรือแม้แต่ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ ในประเด็นการระบายน้ำทิ้งให้เป็นไปตามค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งก่อนปล่อย ออกจากสถานประกอบกิจการ กฎหมายไม่ได้บังคับให้การเลี้ยงกุ้งทะเลต้องจัดให้มีบ่อบำบัดน้ำทิ้ง เพื่อทำหน้าที่บำบัดน้ำให้มีคุณภาพเป็นไปตามค่ามาตรฐานที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นช่องว่างทางกฎหมาย ที่เปิดโอกาสให้ผู้เลี้ยงกุ้งบางรายที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนลักลอบระบายน้ำทิ้งโดยไม่ได้ปฏิบัติตามค่า มาตรฐานดังกล่าว อีกทั้งประกาศฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดกลไกการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ เพื่อ ตรวจสอบคุณภาพของน้ำก่อนที่จะระบายน้ำทิ้งออกจากสถานประกอบกิจการ จึงเป็นช่องว่างทาง กฎหมายอีกประการที่เปิดโอกาสให้มีผู้ลักลอบระบายน้ำทิ้งโดยไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามค่ามาตรฐาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3