การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

74 ดังนั้น จึงควรมีมาตรการหรือกลไกการแจ้งการระบายน้ำทิ้ง โดยต้องกำหนดบังคับให้การระบายน้ำ ออกจากบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลที่ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะต้องแจ้งให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพของ น้ำด้วย หากมีคุณภาพเป็นไปตามค่ามาตรฐานจึงจะระบายลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้ รวมไปถึงสร้าง การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเล ชุมชน และหน่วยงานในระดับท้องถิ่นเข้ามาร่วม จัดการ ร่วมตรวจสอบ ร่วมแจ้งข่าวสารเมื่อพบการลักลอบกระทำความผิด ดังนั้นประเด็นการกำหนดค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง ควรมีรูปแบบในการ ควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยต้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมายไม่ให้มีช่องว่างหรือความแตกต่าง ทางกฎหมายในประเด็นค่ามาตรฐานการระบายน้ำทิ้งของบ่อพื้นที่บ่อต่ำกว่า 10 ไร่ และต้องกำหนด บังคับให้ต้องมีบ่อบำบัดน้ำทิ้งเพื่อปรับสภาพน้ำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมก่อนปล่อยออกจากสถาน ประกอบกิจการ รวมไปถึงสร้างกลไกการแจ้งการระบายน้ำทิ้งต่อเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก่อนระบายน้ำ ทิ้งเพื่อตรวจสอบคุณภาพของน้ำ ว่าเป็นไปตามมาตรฐานก่อนระบายน้ำทิ้ง และต้องสร้างมาตรการ การมีส่วนร่วมของชุมชนหรือหน่วยงานในระดับท้องถิ่น โดยบูรณาการร่วมกัน เพื่อตรวจสอบ เฝ้า ระวัง แจ้งข้อมูลการกระทำผิด และช่วยกันดูแลบำรุงรักษาในระดับชุมชน จึงจะสามารถนำไปสู่ เป้าหมายการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ 2. การแก้ไขเรื่องกลิ่นของกุ้งทะเลที่เหลือจากการจับแล้วตายในบ่อก่อให้เกิดกลิ่นส่งผล กระทบต่อความเป็นอยู่และสุขภาพของชุมชนท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ประกอบอาชีพ เลี้ยงกุ้งทะเลจับกุ้งเพื่อส่งขายตลาดแล้ว จะมีกุ้งทะเลที่หลุดรอดจากการจับหลงเหลืออยู่ในบ่อและ ตายในที่สุด เมื่อกุ้งตายจะส่งกลิ่นเหม็นรบกวนต่อผู้ที่อยู่ใกล้เคียงและอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของ ผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลเองหรือประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง ปัญหาเรื่องกลิ่นเกิดขึ้นและส่งผล กระทบต่อชุมชนหรือชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งปัจจุบันเป็นหน้าที่และอำนาจของเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 25 โดยมีอำนาจแก้ไขปัญหาหาก เป็นกรณีมีเหตุรำคาญอันอาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงหรือผู้ที่ต้อง ประสบกับเหตุการณ์กระทำใด ๆ อันเป็นเหตุให้เกิดกลิ่น จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ให้ถือว่าเป็นเหตุ รำคาญซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อพิจารณาอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามมาตรา 67 (7) กำหนดว่ามีหน้าที่ต้องคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายความว่า หากมีปัญหาเกี่ยวกับกลิ่นที่ ส่งผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลก็จะมีอำนาจเข้าไปคุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ หากมีปัญหาเรื่องกลิ่นเกิดขึ้นไม่ว่าจะมีสาเหตุ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3