การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
75 มาจากเรื่องใดก็ตาม เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีอำนาจห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อให้เกิดเหตุรำคาญรวมทั้งให้ ระงับเหตุรำคาญด้วย โดยมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่นั้นระงับ เหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรตามที่ระบุไว้ในคำสั่ง และถ้าเห็นว่าสมควรจะให้กระทำโดยวิธีใดเพื่อ ระงับเหตุรำคาญนั้น หรือสมควรกำหนดวิธีการเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่ อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยเห็นว่าไม่มีบทบัญญัติมาตราใดของพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหาร ส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ที่กำหนดอำนาจหน้าที่ในการกำกับ ควบคุมและดูแลเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้ง ประกอบกับเจ้าหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นไม่มีผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือความ เข้าใจเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งทะเล เมื่อเปรียบเทียบพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กับพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 จะเห็นว่าพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีเจ้าหน้าที่เข้ามาดูตั้งแต่กระบวนการ แจ้งการประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ซึ่งต้องแจ้งการประกอบกิจการก่อนจะปล่อยกุ้งทะเล รวมถึงในระหว่างเลี้ยงไปจนถึงการระบายน้ำทิ้งเพื่อจับกุ้งทะเล ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเปรียบเสมือนต้น ทาง กลางทาง และปลายทางของการเลี้ยงกุ้งทะเล ทำหน้าที่กำกับ ควบคุม และดูแลการเลี้ยงกุ้ง ทะเล โดยหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ คือ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมีส่วน ราชการในสังกัด สำนักงานประมงจังหวัดและสำนักงานประมงอำเภอ คอยทำหน้าที่กำกับ ควบคุม และดูแลการเลี้ยงกุ้งทะเลในส่วนจังหวัดและอำเภอ ซึ่งมีผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจ และ เชี่ยวชาญในเรื่องของการเลี้ยงกุ้งทะเลมากที่สุด คอยทำหน้าที่ควบคุมการเลี้ยงกุ้งทะเลมิให้ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในทุกมิติ และสามารถอยู่ร่วมกันกับชุมชนได้ อย่างไรก็ตามผลการศึกษายังพบว่าไม่ปรากฏอำนาจของกรมประมง กระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ในการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของกุ้งที่ตายในบ่อหลังจับกุ้งทะเล ทั้งที่ตามพระราชกำหนดการ ประมง พ.ศ. 2558 มาตรา 78 (7) ได้บัญญัติเปิดช่องให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจกำหนดเรื่องอื่นใดที่ จำเป็นในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตรายต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจการของบุคคลอื่น ได้ แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีประกาศที่ออกมาเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นแม้แต่เรื่องเดียว เมื่อไม่มีประกาศที่ ออกโดยอธิบดีกรมประมงในเรื่องการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นของกุ้งที่ตายในบ่อหลังจับกุ้งทะเล ทำให้ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่วนราชการในสังกัด ไม่มีอำนาจดำเนินการควบคุม หรือแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นได้โดยปริยาย ดังนั้น อำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาเรื่องของกลิ่นที่เข้าข่ายเป็นเหตุรำคาญตาม พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ซึ่งมีเจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นเป็นผู้มีหน้าที่และอำนาจนั้น เป็นอำนาจแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่นโดยทั่วไปมิได้เฉพาะเจาะจงกับปัญหาเรื่องกลิ่นที่เกิดจากกุ้งที่ตายใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3