การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
76 บ่อหลังจับกุ้งทะเล โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นมิได้มีความรู้ความเชี่ยวชาญ หรือความเข้าใจในเรื่องของ การเลี้ยงกุ้งทะเลเมื่อเปรียบเทียบกับเจ้าหน้าที่ของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่วน ราชการในสังกัด ซึ่งหากให้หน่วยงานที่ความเชี่ยวชาญ และความเข้าใจในการเลี้ยงกุ้งหากกระทบต่อ การเลี้ยงกุ้งในระยะยาวได้ จากประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยเห็นว่าการแก้ไขปัญหาเรื่องกลิ่น ของกุ้งทะเลที่เหลือจากการจับแล้วตายในบ่อ ควรเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมประมง กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ และส่วนราชการในสังกัด เพื่อที่จะสามารถหาวิธีการหรือกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อรองรับ ปัญหาที่จะเกิดขึ้น หรือสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด ซึ่งตามมาตรา 78 (7) แห่งพระราชกำหนดการ ประมง พ.ศ. 2558 ก็เปิดช่องให้อธิบดีกรมประมงมีอำนาจประกาศกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการ เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลต้องปฏิบัติ โดยกำหนดเรื่องอื่นใดที่จำเป็นในการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออันตรายต่อผู้บริโภคหรือต่อกิจการของบุคคลอื่นได้ ซึ่งเรื่องของกลิ่นที่กระทบต่อชุมชนก็เข่าขายที่ สามารถออกประกาศรองรับได้ หากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่วนราชการใน สังกัด เป็นผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุมตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทางของการเลี้ยงกุ้งทะเล เข้ามา มีอำนาจในเรื่องดังกล่าวด้วย จะนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหาด้านกลิ่น สามารถจัดวางระบบหรือป้องกันผลกระทบที่จะตามมาได้ และทำให้การเลี้ยงกุ้งก็สามารถดำเนินการ ได้ในระยะยาวและอยู่รวมกันกับชุมชนได้ และจะทำให้การควบคุมเรื่องของกลิ่นที่เกิดจากการเลี้ยงกุ้ง ทะเลอยู่ภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ไม่กระจัดกระจายและสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พ.ศ. 2548 ของราชอาณาจักรนอร์เวย์ (The Norwegian Aquaculture Act. 2005) ที่บัญญัติควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในด้านการส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมในทุกด้านไว้โดยเฉพาะ กรณีที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดออกประกาศตามมาตรา 77 แห่งพระราช กำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนดให้พื้นที่ใดเป็นเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทะเล โดยห้ามมิให้ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงนอกเขตที่กำหนดไว้ เช่น ประกาศคณะกรรมการ ประมงประจำจังหวัดสงขลา เรื่อง “กำหนดเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสำหรับกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ควบคุม ประเภทการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล พ.ศ. 2561” กำหนดให้พื้นที่ของจังหวัดสงขลาโดยการ กำหนดพื้นที่ครอบคลุมในตำบลและอำเภอของจังหวัดเท่านั้น จะเห็นได้ว่าเป็นการกำหนดพื้นที่โดย กว้าง ซึ่งไม่ได้กำหนดระยะห่างของบ่อเลี้ยงกุ้งทะเลว่าต้องมีระยะห่างจากชุมชนเพียงใด หากบ่อเลี้ยง กุ้งทะเลอยู่ใกล้กับชุมชนมากจนเกินไปก็จะมีปัญหาผลกระทบต่อชุมชนในด้านของกลิ่นของกุ้งทะเลที่ หลงเหลือจากการจับแล้วตายในบ่อได้ ดังนั้นควรกำหนดระยะห่างจากชุมชนของการเพาะเลี้ยงกุ้ง ทะเลไว้ภายในเขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งจะเป็นอีกวิธีที่จะลดผลกระทบในด้านกลิ่นต่อชุมชนได้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3