การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

98 บัตรประจำตัวประชาชนได้ เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองก็จะอนุญาตให้เดินทางเข้าประเทศและ สามารถพำนักในประเทศไทยได้อย่างไม่จำกัด ไม่มีหน้าที่ต้องรายงานตนใด ๆ แก่เจ้าพนักงาน เสมือน ว่าคนสองสัญชาติผู้เดินทางรายนั้นใช้หนังสือเดินทางไทยเดินทางเข้าประเทศไทย แต่หากเพียงกล่าว อ้างว่ามีสัญชาติไทยแต่ไม่ปรากฏหลักฐานการมีสัญชาติไทย ผู้นั้นจะต้องถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็น คนต่างด้าวซึ่งจะต้องยื่นเรื่องขอพิสูจน์สัญชาติไทยต่อไปตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57) ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มคนสองสัญชาติ เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีความ สอดคล้องตรงกันว่าการปฏิบัติต่อคนสองสัญชาติในการเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นไปตามที่ได้กล่าว มาข้างต้น โดยหากคนสองสัญชาติใช้หนังสือเดินทางไทย ก็จะได้รับสิทธิต่าง ๆ เสมือนคนไทยตั้งแต่ การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและตลอดเวลาที่พำนักอยู่ในราชอาณาจักร แต่หากใช้ หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก็จะต้องปฏิบัติตนเฉกเช่นคนต่างด้าว ส่วนกลุ่มสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและนักวิชาการให้สัมภาษณ์ว่าทราบถึงการปฏิบัติลักษณะ ดังกล่าว การตรวจหนังสือเดินทางแก่บุคคลที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 18 กำหนดให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจบุคคลที่เดินทางเข้ามา ในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร และมาตรา 12(1) ประกอบมาตรา 19 กล่าวถึงการตรวจ หนังสือเดินทางของบุคคลต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเท่านั้น โดยไม่พบว่ามีบทบัญญัติ ในมาตราใดแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ที่ระบุถึงการตรวจหนังสือเดินทางของ บุคคลสัญ ช าติ ไท ย ในการ เดินท าง เข้ ามา ในห รือออก ไปนอกราชอาณ าจักรแต่อย่างใด ซึ่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 นี้ สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนที่ปรากฏตามปฏิญญา สากลปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ข้อ 13(2) กล่าวคือมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศ ใด รวมทั้งประเทศของตนเองด้วย และสิทธิที่จะกลับสู่ประเทศตน รวมทั้งปรากฏอยู่ในกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองข้อ 12 ว่าบุคคลจะถูกลิดรอนสิทธิในการเดิน ทางเข้าประเทศของตนโดยอำเภอใจมิได้ ซึ่งประเทศไทยได้รับรองสิทธิมนุษยชนดังกล่าวโดยมีลักษณะ รับรองสิทธิไว้เด็ดขาดโดยปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 39 ว่าการห้ามมิให้ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้ ขั้นตอนการตรวจหนังสือเดินทางของคนไทยซึ่งเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรผู้วิจัยพบว่า มีบทบัญญั ติแห่ งกฎหม าย เกิดขึ้นจาก ระ เบี ยบการต ำรวจ ไม่ เกี่ย วกับคดี ลักษณ ะ 34 การตรวจคนเข้าเมือง โดยปรากฏอยู่ในบทที่ 6 หมวดที่ 1 ข้อ 8 ซึ่งกำหนดให้บุคคลสัญชาติไทย เมื่อเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าจะโดยสารพาหนะประเภทใด หรือเดินเท้าเข้ามา ให้ยื่น หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง ของตนแล้วแต่กรณีเพื่อทำการตรวจ ให้พนักงาน

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3