การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

99 เจ้าหน้าที่ตรวจรายการในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง เมื่อเห็นว่าถูกต้องให้ พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจอนุญาต โดยประทับหรือติดแผ่นปะ ( Sticker) ตราขาเข้า ในหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางแล้วให้คืนหนังสือเดินทางหรือเอกสาร ใช้แทนหนังสือเดินทางให้แก่ผู้ถือไป กรณีผู้ถือหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย ซึ่งผ่านการตรวจ จากเครื่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติแล้ว ให้พนักงานเจ้าหน้าที่อนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักร โดยไม่ต้องประทับหรือติดแผ่นปะ (Sticker) ตราขาเข้าในหนังสือเดินทาง ซึ่งจากบทบัญญัติระเบียบ การตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ 34 การตรวจคนเข้าเมือง บทที่ 6 หมวดที่ 1 ข้อ 8 นี้ พบว่าการ ตรวจบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทยโดยยึดโยงกับหนังสือเดินทางนั้นไม่ถูกต้อง เนื่องจากพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับหนังสือเดินทางนั้นเกิดขึ้นในสมัยช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 รัฐต่างๆ เริ่มมีการตรวจ คนต่างชาติอย่างเข้มงวด จึงมีความจำเป็นต้องออกหนังสือเดินทางให้แก่คนรัฐตนเพื่อใช้แสดงตน ในการเดินทางในต่างประเทศ และพบว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตอบข้อหารือกรณี ดังกล่าวว่า หลักกฎหมายสมัยปัจจุบัน พลเมืองของประเทศหนึ่ง ๆ มีสิทธิที่จะเดินทางออกนอก ประเทศไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยเสรีและไม่ต้องขออนุญาต ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ข้อ 13(2) ซึ่งมีความว่า “ทุกคนมีสิทธิออกจากประเทศใด ๆ ไป รวมทั้งประเทศ ของตนเองด้วย และที่จะกลับยังประเทศของตน” หนังสือเดินทางไม่มีลักษณะเป็นใบอนุญาตให้ ออกนอกประเทศได้ เป็นเพียงเพื่อใช้เสมือนบัตรประจำตัวของผู้เดินทางอันจะเห็นได้ว่ามีข้อความ เกี่ยวกับลักษณะรูปพรรณ อาชีพ และสัญชาติของผู้ถือหนังสือเดินทาง วัตถุประสงค์ของหนังสือ เดินทางก็เพื่อจะแสดงว่าผู้ถือหนังสือเดินทางนั้นเป็นชนในสัญชาติของประเทศซึ่งเจ้าหน้าที่ของ ประเทศของผู้นั้นเป็นผู้ออกให้เพื่อผู้นั้นจะได้รับความช่วยเหลือและความคุ้มครองในต่างประเทศตาม สมควร ดังนั้นบุคคลหนึ่งบุคคลใดอาจเดินทางออกจากประเทศของตนไปได้โดยเสรีมิต้องร้องขอหรือ รับหนังสือเดินทาง กล่าวคือบุคคลนั้นย่อมกระทำได้ด้วยการเสี่ยงภัยด้วยตนเองว่าบุคคลนั้นอาจได้รับ การปฏิเสธไม่ยอมให้เข้าไปในประเทศหนึ่งที่ตนประสงค์จะเข้าไปเมื่อตนไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับชื่อหรือ รูปพรรณ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปหนังสือเดินทาง) ซึ่งเป็นหลักฐานที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้าไป ในประเทศนั้น ๆ ได้ ซึ่งเป็นสิทธิเด็ดขาดของประเทศนั้น และเมื่อผู้เดินทางกลับเข้ามาในประเทศ ของตน บุคคลนั้นจะถูกลงโทษในความผิดฐานเดินทางออกจากประเทศโดยไม่มีหนังสือเดินทางไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิของเขา ซึ่งจากเอกสารที่พบนี้จึงเห็นได้ว่า ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ 34 การตรวจคนเข้าเมือง บทที่ 6 หมวดที่ 1 ข้อ 8 ที่กำหนดให้คนไทยจะต้องตรวจหนังสือเดินทางนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบเหตุผลสนับสนุนหลักการที่ว่าบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทยสามารถ เข้ามาในราชอาณาจักรได้โดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง คือ การที่พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 บัญญัติเรื่องเกี่ยวกับการพิสูจน์สัญชาติ ไว้ว่า ถ้าไม่ปรากฏหลักฐานอันเพียงพอ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3