การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
101 ซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยนั้นจะถูกกำหนดไว้ในตราประทับขาเข้าในขณะ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้พำนักอยู่เป็นระยะเวลาเท่าใดขึ้นกับประเภท ของตรวจลงตรา (วีซ่า) ที่ปรากฏในเล่มหนังสือเดินทางซึ่งใช้แสดงแก่เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง หรือหากเป็นกรณีไม่มีวีซ่าระยะเวลาพำนักจะขึ้นกับสัญชาติของหนังสือเดินทางที่ใช้แสดง หากผู้เดินทางนั้นประสงค์จะอยู่เกินกำหนดอนุญาตจะต้องยื่นคำขออนุญาตเพื่ออยู่ในราชอาณาจักร เป็นการชั่วคราวต่อไปโดยยื่นต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตามรายการแบบคำขอ (ตม.7) โดยยื่น คำขอด้วยเหตุผลข้อ 2.23 กรณีกลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมีสัญชาติไทย หรือของผู้ที่มีบิดาหรือ มารดาเป็นบุคคลสัญชาติไทยหรือเคยมีสัญชาติไทย ซึ่งการยื่นคำขอเหตุผลนี้ผู้ยื่นคำขอต้องแสดง หลักฐานว่าเดิมเคยมีสัญชาติไทย หรือแสดงว่าบิดาหรือมารดามีสัญชาติไทย หรือเคยมีสัญชาติไทย (คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 327/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคน ต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว, 2557) โดยรายการเอกสารที่ต้องใช้ยื่น ประกอบคำขอ ได้แก่ แบบคำขอ สำเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคำขอ และสำเนาเอกสารแสดงว่าเดิม เคยมีสัญชาติไทย (คำสั่งสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่ 138/2557 เรื่อง รายการเอกสารประกอบการ พิจารณากรณีคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว, 2557) การยื่นคำขอนี้มีค่าธรรมเนียม 1,900 บาท และเจ้าพนักงานจะอนุญาตครั้งละไม่เกิน 1 ปี ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มคนสองสัญชาติ เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง มีความ สอดคล้องตรงกันว่าจะต้องมีการดำเนินการและการปฏิบัติตามในขณะพำนักอยู่ในราชอาณาจักร ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น โดยหากคนสองสัญชาติใช้หนังสือเดินทางไทย ก็จะได้รับสิทธิต่าง ๆ เสมือน คนไทยทุกประการ แต่หากใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรก็จะต้องปฏิบัติ ตนเฉกเช่นคนต่างด้าว ส่วนกลุ่มสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและนักวิชาการให้สัมภาษณ์ว่าการ ปฏิบัติดังกล่าวไม่ถูกต้องเพราะเมื่อคนสองสัญชาติยังคงมีสัญชาติไทยจึงไม่ใช่คนต่างด้าว และไม่มี บทบัญญัติใดจำกัดสิทธิคนไทยในกรณีเดินทางเข้าประเทศด้วยหนังสือเดินทางต่างชาติไว้ว่าจะต้อง ปฏิบัติเช่นเดียวกับคนต่างด้าว การปฏิบัติที่ได้กระทำอยู่นั้นจึงไม่ถูกต้อง เกี่ยวกับประ เด็นนี้ จากบทสัมภ าษณ์ เชิงลึกทำให้ผู้วิจัยทราบว่า เจ้าพนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองผู้ให้สัมภาษณ์ให้ถ้อยคำไปในแนวทางเดียวกันว่า การปฏิบัติต่อคนสองสัญชาติ ซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น ในขณะเดินทางเข้าได้แสดงเจตนาใช้ สัญชาติตามหนังสือเดินทางที่แสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อผู้เดินทางประสงค์แสดงเจตนาจะใช้ สัญชาติต่างด้าว การปฏิบัติตนในราชอาณาจักรไทยก็จะต้องปฏิบัติตนเฉกเช่นคนต่างด้าวซึ่งจะต้องอยู่ ในราชอาณาจักรตามจำนวนวันอนุญาตให้พำนักอย่างจำกัด อีกทั้งมีหน้าที่ต้องพักอาศัย ณ สถานที่ที่ ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงาน รวมทั้งการแจ้งย้ายที่พักอาศัย และรายงานตนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เมื่ออยู่ใน ราชอาณาจักรเกินกว่า 90 วัน เฉกเช่นคนต่างด้าว ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3