การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

102 พ.ศ. 2522 ซึ่งคำสัมภาษณ์ของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองนี้สอดคล้องกับคำสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง คนสองสัญชาติซึ่งให้สัมภาษณ์ว่าคนสองสัญชาติทุกคนรวมทั้งกลุ่มคนสองสัญชาติในต่างประเทศต่าง เข้าใจหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเช่นนี้ โดยปฏิบัติมาอย่างยาวนานและสืบต่อกันมา กลุ่มตัวอย่างรายหนึ่ง กลับเข้ามาในประเทศไทยด้วยหนังสือเดินทางต่างชาติกว่า 20 ปีแล้วโดยไม่เคยเดินทางกลับออกไป นอกราชอาณาจักรอีก ก็ได้ปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ โดยรายงานตัวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ทุก ๆ ระยะ 90 วัน และในทุก ๆ ปี ก็จะมาขอขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรโดยเสียค่าธรรมเนียมเรื่อยมา ผลการวิจัยผู้วิจัยพบว่าการปฏิบัติของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ ของคนสองสัญชาติซึ่งในหนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งใช้บังคับอยู่นี้ไม่ ถูกต้อง เนื่องจากคนสองสัญชาติยังคงมีสัญชาติไทย จึงไม่ใช่ คนต่างด้าว ตามนิยามแห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ประกอบกับ สัญชาติ เป็นเรื่องผลของกฎหมาย ผู้วิจัยพบว่า ในทางจารีตประเพณีระหว่างประเทศสัญชาติเป็นเขตอำนาจภายในของรัฐนี้ โดยรัฐต่าง ๆ ได้ถือ แนวปฏิบัติกันมาและถือว่าสิ่งนี้เป็นกฎหมาย แนวปฏิบัติของรัฐที่มีบัญญัติเรื่องการได้มา และการเสีย ไปซึ่งสัญชาติ รัฐแต่ละรัฐจะเป็นผู้กำหนดเอง ไม่มีรัฐใดสอดแทรกเข้าไปกำหนดการได้สัญชาติของ บุคคลในรัฐอื่น ซึ่งต่อมาหลักกฎหมายเช่นว่านี้ได้ถูกกำหนดในรูปแบบของกฎหมายลายลักษณ์อักษร เพื่อทำให้เกิดความชัดเจน ในอนุสัญญาปัญหาบางประการเกี่ยวกับการขัดกันของกฎหมายสัญชาติ ค.ศ. 1930 มาตรา 1 ระบุว่า รัฐแต่ละรัฐจะกำหนดว่าใครเป็นคนชาติของตนโดยออกเป็นกฎหมาย ภายใน และกฎหมายภายในเช่นว่านี้ รัฐอื่นจะต้องยอมรับเท่าที่ไม่ขัดกับอนุสัญญาระหว่างประเทศ กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไปอันเป็นที่ยอมรับในส่วนที่เกี่ยวกับสัญชาติ และใน มาตรา 2 ของอนุสัญญาฉบับเดียวกันนี้ก็ได้กำหนดว่า ไม่ว่าปัญหาใดถ้าเกี่ยวกับการที่บุคคลจะมี สัญชาติของรัฐใดหรือไม่นั้น ให้พิจารณาจากกฎหมายของรัฐนั้น ซึ่งด้วยเหตุที่สัญชาตินั้นเป็นตาม กฎหมายภายในของแต่ละรัฐจึงเกิดกรณีปัญหาของคนมีสองสัญชาติ ซึ่งเมื่อพิจารณาตามกฎหมาย สัญชาติของประเทศไทยฉบับที่ใช้บังคับในปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ผู้วิจัยพบว่า กฎเกณฑ์ที่พบในพระราชบัญญัติสัญชาติ เป็นกฎเกณฑ์ในการกำหนดสัญชาติของบุคคลซึ่งเป็น เครื่องมือในการตอบว่าบุคคลมีสัญชาติไทยหรือไม่ โดยมุ่งตอบปัญหาว่า บุคคลได้สัญชาติหรือไม่ บุคคลเสียสัญชาติหรือไม่ และบุคคลจะได้กลับคืนสัญชาติหรือไม่ ดังนั้นการที่คนสองสัญชาติแสดง หนังสือเดินทางต่างชาติเข้ามาในราชอาณาจักรก็ไม่อาจจะตีความได้ว่าเป็นคนต่างด้าวในขณะเดิน ทางเข้ามาในราชอาณาจักร การพำนักอยู่ในราชอาณาจักร ตลอดจนการเดินทางกลับออกไปนอก ราชอาณาจักรนั้น คนสองสัญชาติรายนั้นจะเป็นคนต่างด้าวตามความหมายของพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งมีนิยามสอดคล้องกับคำว่าคนต่างด้าวในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 เพราะผู้นั้นยังคงมีสัญชาติไทย เพียงแต่พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 57 กำหนดบทสันนิษฐานไว้ว่า หากไม่ปรากฏหลักฐานอันเพียงพอที่พนักงานเจ้าหน้าที่จะเชื่อถือได้ว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3