การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

103 เป็นคนมีสัญชาติไทย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้นั้นเป็นคนต่างด้าวจนกว่าผู้นั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมี สัญชาติไทย ดังนั้นแม้ในขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรคนสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทาง ต่างชาติแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม ก็ไม่ใช่เหตุที่จะจำกัดสิทธิคนสองสัญชาติให้ต้องปฏิบัติตน เฉกเช่นคนต่างด้าวตลอดระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักรกระทั่งกลับออกไปนอกราชอาณาจักรดังที่ กลุ่มตัวอย่างเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองและคนสองสัญชาติให้สัมภาษณ์และปฏิบัติสืบต่อกันมา เพราะบทบัญญัติว่าด้วยการขอขยายระยะเวลาพำนักในราชอาณาจักร (พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 35) รวมทั้งการกำหนดหน้าที่ที่จะต้องพำนักในสถานที่ที่กำหนด การแจ้งการ เปลี่ยนที่พำนักและการรายงานตัวต่อเจ้าพนักงาน (พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 37) ต่างเป็นบทบัญญัติซึ่งใช้บังคับแก่คนต่างด้าว ดังนั้นการจำกัดสิทธิคนสองสัญชาติให้ปฏิบัติเฉกเช่น คนต่างด้าวด้วยพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งใช้บังคับแก่คนต่างด้าวนั้นจึงเป็นการ ไม่ถูกต้อง และแม้ว่าคนสองสัญชาติรายใดจะปราศจากความเกี่ยวโยงอันแท้จริง (genuine link) กับ รัฐไทยเช่น อาจได้สัญชาติไทยและสัญชาติอื่นมา โดยผูกพันกับสัญชาติอื่นยิ่งกว่าสัญชาติไทยก็ตาม ดังเช่นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกล่าวถึงในคดีของนายนอตเตโบห์ม แต่ด้วยพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา การตีความจะต้องตีความโดยเคร่งครัดตาม หลักกฎหมายอาญา และเมื่อพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 กำหนดให้การเสียสัญชาติมีผลเมื่อ ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ดังนั้นตราบเท่าที่ยังคงมีสองสัญชาติก็มิอาจเป็นคนต่างด้าวที่ จะต้องปฏิบัติเช่นคนต่างด้าวตามกฎหมายคนเข้าเมืองต่าง ๆ ได้ จากบทสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองให้สัมภาษณ์ในมุมมองว่าการใช้ กฎหมายคนเข้าเมืองควบคุมคนสองสัญชาติซึ่งเดินทางเข้าประเทศด้วยหนังสือเดินทางต่างชาตินั้นเป็น การควบคุมให้ง่ายต่อการตรวจสอบและติดตาม ซึ่งผู้วิจัยพบว่าแนวความคิดในการใช้กฎหมาย คนเข้าเมืองควบคุมและจำกัดสิทธิคนสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักรนั้นไม่สอดคล้องกับแนวคิดในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลซึ่ง ปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ. 1948 ก็ได้ยอมรับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพ ตามที่รับรองไว้ในข้อ 29(2) ซึ่ง สรุปได้ว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนจะถูกจำกัดได้แต่เพียงกฎหมาย และต้องเป็นกฎหมายที่ ตราขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเพื่อความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อย ของประชาชนเท่านั้น หากกฎหมายที่ตราขึ้นมิได้มีจุดประสงค์ดังกล่าวก็ไม่สามารถจำกัดสิทธิและ เสรีภาพได้ นอกจากนี้เสรีภาพในการเดินทางและการพำนักอาศัยนั้นยังปรากฏอยู่ในปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 13(1) ว่าทุกคนมีสิทธิในอิสรภาพแห่งการเคลื่อนย้ายและการอยู่อาศัยภายใน พรมแดนของแต่ละรัฐ รวมถึงกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 12 ว่าบุคคลทุกคนที่อยู่ในดินแดนของรัฐใดโดยชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีสิทธิในเสรีภาพในการโยกย้าย และเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่ภายในดินแดนของรัฐนั้น สิทธิดังกล่าวข้างต้นไม่อยู่ภายใต้

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3