การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

105 ในการตรวจอนุญาตให้บุคคลเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร กรณีบุคคลถือหนังสือเดินทางร่วมหรือ ถือหนังสือเดินทาง 2 เล่ม โดยหนังสือบันทึกข้อความนี้ได้ขยายความถึงการการตรวจอนุญาต ในลักษณะให้ใช้หนังสือเดินทางเล่มใดเล่มหนึ่งเพียงสัญชาติเดียวว่า ประเทศไทยยึดหลักการมีสัญชาติ เดียวตามกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และกำหนดให้เจ้าพนักงานซึ่งตรวจพบคนไทยมี 2 สัญชาติ ให้ประมวลเรื่องแจ้งตำรวจสันติบาลเพื่อรวบรวมแจ้งกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้เสียสัญชาติต่อไป นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบคู่มือการปฏิบัติงานของสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ระบุว่าในคนสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ในขณะ เดินทางออกนอกราชอาณาจักรหากตรวจพบว่าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเกินกำหนดอนุญาต จะต้อง เสียค่าปรับ หากไม่ประสงค์จะเสียค่าปรับและจะใช้หนังสือเดินทางไทยเดินทางออกนอก ราชอาณาจักร เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาตให้เดินทางออก แนวทางปฏิบัติตามหนังสือดังกล่าว ผู้วิจัยพบว่ามีความไม่สอดคล้องกับหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมาย กล่าวคือ ผู้วิจัยพบว่าแนวปฏิบัติของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดังกล่าวขัดต่อ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 13(2) ที่ว่าทุกคนมีสิทธิที่จะออกนอกประเทศใด รวมทั้ง ประเทศของตนเองด้วย รวมทั้ง ขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง ข้อ 12 ที่ว่า บุคคลทุกคนย่อมมีเสรีภาพที่จะออกจากประเทศใด ๆ รวมทั้งประเทศของตนได้ นอกจากนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยตอบข้อหารือกรณีดังกล่าวว่า หนังสือเดินทางไม่มีลักษณะเป็น ใบอนุญาตให้ออกนอกประเทศได้ เป็นเพียงเพื่อใช้เสมือนบัตรประจำตัวของผู้เดินทางอันจะเห็นได้ว่ามี ข้อความเกี่ยวกับลักษณะรูปพรรณ อาชีพ และสัญชาติของผู้ถือหนังสือเดินทาง วัตถุประสงค์ของ หนังสือเดินทางก็เพื่อจะแสดงว่าผู้ถือหนังสือเดินทางนั้นเป็นชนในสัญชาติของประเทศซึ่งเจ้าหน้าที่ ของประเทศของผู้นั้นเป็นผู้ออกให้เพื่อผู้นั้นจะได้รับความช่วยเหลือและความคุ้มครองในต่างประเทศ ตามสมควร ดังนั้นบุคคลหนึ่งบุคคลใดอาจเดินทางออกจากประเทศของตนไปได้โดยเสรีมิต้องร้องขอ หรือรับหนังสือเดินทาง กล่าวคือบุคคลนั้นย่อมกระทำได้ด้วยการเสี่ยงภัยด้วยตนเองว่าบุคคลนั้นอาจ ได้รับการปฏิเสธไม่ยอมให้เข้าไปในประเทศหนึ่งที่ตนประสงค์จะเข้าไปเมื่อตนไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับชื่อ หรือรูปพรรณ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปหนังสือเดินทาง) ซึ่งเป็นหลักฐานที่จะอนุญาตให้คนต่างด้าว เข้าไปในประเทศนั้น ๆ ได้ ซึ่งเป็นสิทธิเด็ดขาดของประเทศนั้น ซึ่งแนวคิดหลักสากลข้างต้นต่าง สอดคล้องกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติใดกล่าวถึงการ เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรว่าจะต้องมีหนังสือเดินทางแต่อย่างใด ประการต่อมา ผู้วิจัยพบว่าแนวปฏิบัติที่ปรากฏในคู่มือปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองที่ว่า คนสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติขณะเดินทางเข้ามาใน ราชอาณาจักร ในขณะเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหากตรวจพบว่าอยู่ในราชอาณาจักรไทยเกิน กำหนดอนุญาต จะต้องเสียค่าปรับ หากไม่ประสงค์จะเสียค่าปรับและจะใช้หนังสือเดินทางไทย

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3