การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

106 เดินทางออกนอกราชอาณาจักร เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะไม่อนุญาตให้เดินทางออก ข้อกล่าวหาซึ่งใช้ในการเปรียบเทียบปรับนี้คือความผิดฐาน “เป็นคนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรโดย การอนุญาตสิ้นสุด” อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81 ซึ่งจาก การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มสัมภาษณ์เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองและคนสองสัญชาติต่างรับทราบถึง การปฏิบัติดังกล่าวและยอมรับในการปฏิบัติดังกล่าว ซึ่งคนสองสัญชาติทราบและยินยอมชำระค่าปรับ หากตนอยู่เกินกำหนดอนุญาต ซึ่งกรณีนี้ผู้วิจัยพบว่าขัดกับหลักการในประมวลกฎหมายอาญาที่ จะต้องตีความโดยเคร่งครัด ไม่อาจตีความขยายความออกไปเพื่อให้เป็นผลร้ายแก่จำเลยหรือผู้ต้องหา ดังนั้นกรณีองค์ประกอบความผิดในบทบัญญัติมาตรานี้ผู้กระทำผิดต้องเป็นคนต่างด้าว และคนต่าง ด้าวหมายถึงบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทยแล้ว ดังนั้นคนสองสัญชาติแม้ใช้หนังสือเดินทางต่างชาติ เข้ามาในราชอาณาจักรและอยู่เกินกำหนดอนุญาตก็ไม่อาจจะเป็นความผิดตามมาตรานี้เนื่องจากเป็น การขาดองค์ประกอบภายนอกของความผิด ซึ่งจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ต่างเห็นตรงกันว่าคนสองสัญชาติไม่อาจมีความผิดตามมาตรานี้ได้ 4.4 การควบคุมคนสองสัญชาติ จากผลการวิจัยพบว่าปัจจุบันคนสองสัญชาติหากเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยด้วย หนังสือเดินทางไทย สามารถอยู่ในราชอาณาจักรไทยได้ดั่งคนไทยทุกประการ แต่กรณีเดินทางเข้ามา ในราชอาณาจักรด้วยหนังสือเดินทางต่างชาติจะต้องถูกควบคุมการปฏิบัติเฉกเช่นคนต่างด้าวเข้ามา ในราชอาณาจักร เช่น ถูกกำหนดระยะเวลาพำนักอยู่ในราชอาณาจักรอย่างจำกัด หากอยู่เกินกำหนด อนุญาตจะต้องขอขยายระยะเวลานั้น การเดินทางไปพักอาศัยในเคหะสถานของผู้ใด บุคคลผู้รับ คนสองสัญชาติซึ่งเดินทางเข้าประเทศด้วยหนังสือเดินทางต่างชาตินั้นจะต้องมีหน้าที่แจ้งการเข้าพัก อาศัยต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองทราบ รวมทั้งตัวคนสองสัญชาตินั้นกรณีอยู่ในราชอาณาจักร เกินกว่าเก้าสิบวันก็จะต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุกระยะ หากฝ่าฝืนมีโทษ ตามกฎหมาย ซึ่งเกี่ยวกับการควบคุมคนสองสัญชาติในลักษณะเช่นนี้ เป็นการใช้อำนาจตาม พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในการควบคุม แต่เมื่อพิจารณาการควบคุมในลักษณะนี้ สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะเป็นผู้ควบคุมการพำนักในราชอาณาจักรของคนสองสัญชาติ แต่มิได้มี การรายงานข้อมูลหรือนำส่งข้อมูลไปยังเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองเพื่อจัดเก็บข้อมูลบุคคลสองสัญชาติ ในฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ จึงไม่อาจทราบจำนวนที่แน่ชัดของคนสองสัญชาติแท้จริงในประเทศไทย ได้ อีกทั้งการใช้บทบัญญัติแห่ง พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในการควบคุมการพำนักใน ประเทศไทยต่าง ๆ แก่คนสองสัญชาติ ทั้งที่บทบัญญัตินั้นใช้บังคับแก่คนต่างด้าว ซึ่งนิยามคำว่า คนต่างด้าวนั้นหมายความถึงบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย จึงทำให้คนสองสัญชาติมิใช่คนต่างด้าว

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3