การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

111 ผู้วิจัยอาจสรุปได้ว่าหากประสงค์จะควบคุมคนสองสัญชาติ การใช้บังคับด้วยกฎหมาย คนเข้าเมืองที่มุ่งประสงค์คัดกรองคนต่างด้าวเดินทางเข้าประเทศจึงไม่ถูกต้อง และควรตรากฎหมาย เพิ่มเติมโดยอาจแก้ไขเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ดังที่สหพันธรัฐรัสเซียได้ปฏิบัติ จากที่ได้วิเคราะห์มาโดยลำดับแล้ว ผู้วิจัยเห็นว่าการมีสองสัญชาติของบุคคลนั้น กฎหมาย ไทยที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นไม่ได้มีบทบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดถือสองสัญชาติ หรือจะลดทอนสิทธิ ความเป็นคนไทยลงเพียงเพราะเดินทางเข้าประเทศด้วยหนังสือเดินทางต่างชาติก็มิได้ ปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากการใช้บังคับกฎหมายของพนักงานเจ้าหน้าที่อันได้แก่ 1. ระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะ 34 การตรวจคนเข้าเมือง บทที่ 6 หมวดที่ 1 ข้อ 8 เกี่ยวกับการตรวจหนังสือเดินทางของคนไทยในขณะเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร 2. หนังสือสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 เรื่อง แนวทางปฏิบัติ ในการตรวจอนุญาตให้บุคคลเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร กรณีบุคคลถือหนังสือเดินทางร่วมหรือถือ หนังสือเดินทาง 2 เล่ม 3. คู่มือปฏิบัติงานเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง อิมมิเกรชั่น ทเวนตี้โฟว์ เซเว่น ซึ่งเขียน โดยผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งระบุกรณีคนไทยเดินทางเข้ามาในประเทศโดยใช้ หนังสือเดินทางต่างชาติ หากอยู่เกินกำหนดอนุญาตและไม่ประสงค์จะเสียค่าปรับโดยประสงค์ใช้ หนังสือเดินทางไทยเดินทางออกนอกราชอาณาจักร เจ้าหน้าที่จะไม่อนุญาตให้เดินทางออก และต้องเสียค่าปรับอยู่เกินกำหนดอนุญาต 4. การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง ที่นำคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 327/2557 เรื่อ ง ห ลั ก เกณ ฑ์ แ ล ะ เงื่อ น ไข ใน ก า รพิ จ า รณ าก รณี ค น ต่ า งด้ าว ขอ อ นุญ า ต อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว มาใช้บังคับกับคนไทยสองสัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติ เดินทางเข้ามาประเทศไทยควรได้รับการปรับปรุงแก้ไข

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3