การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
112 บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และ ข้อเสนอแนะ 5.1 สรุปผล การวิจัยนี้กำหนดวัตถุประสงค์ในการศึกษาขั้นตอนการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของ คนไทยสองสัญชาติ ปัญหา และอุปสรรคในการเข้ามาในราชอาณาจักร รวมทั้งศึกษา กฎหมาย ระเบียบ วิธีปฏิบัติของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร ของคนสองสัญชาติ และนำมาวิเคราะห์กับแนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เข้ามาในราชอาณาจักรของคนไทยสองสัญชาติ เพื่อเสนอแนะและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ระเบียบ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิความเป็นคนไทยสองสัญชาติกรณี เดินทางเข้ามาในประเทศไทยด้วย หนังสือเดินทางต่างชาติ และการควบคุมคนสองสัญชาติ จากการศึกษาเรื่องสิทธิความเป็นคนไทยสองสัญชาติกรณีเดินทางเข้าประเทศด้วย หนังสือเดินทางต่างชาตินั้น พบว่า เจ้าหน้าที่ของประเทศไทยทั้งในส่วนของสถานเอกอัครราชทูตไทย ในต่างประ เทศซึ่งให้ข้อมูลคนสองสัญชาติซึ่งพำนักอยู่ในต่างประ เทศ และเจ้าพนักงาน ตรวจคนเข้าเมืองของไทย ได้แจ้งและถือปฏิบัติต่อคนไทยสองสัญชาติซึ่งเดินทางเข้าประเทศด้วย หนังสือเดินทางต่างชาติเฉกเช่นเดียวกับคนต่างด้าวเดินทางเข้าในประเทศ ซึ่งจะได้รับอนุญาตให้อยู่ใน ประเทศไทยอย่างมีกำหนดอนุญาต โดยเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองจะประทับวันอนุญาตให้อยู่ใน ประเทศไทยในขณะเดินทางเข้าประเทศในเล่มหนังสือเดินทางต่างชาติซึ่งคนสองสัญชาติแสดงต่อ เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองในขณะเดินทางเข้ามาในประเทศไทย และจะต้องเดินทางออก ราชอาณาจักรไทยก่อนการอนุญาตนั้นสิ้นสุดลง หากประสงค์จะพำนักอยู่ต่อในประเทศไทยระยะยาว ผู้เดินทางจะต้องยื่นคำร้องขออนุญาตขยายเวลาพำนักกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในฐานะ คนต่างชาติ ตามคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 327/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการ พิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ข้อ 2.23 กำหนดให้กรณี กลับภูมิลำเนาเดิมของผู้เคยมีสัญชาติไทย หรือ ของผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นบุคคลสัญชาติไทย หรือ เคยมีสัญชาติไทย ซึ่งจะสามารถขยายระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยครั้งละหนึ่งปี โดยเสีย ค่าธรรมเนียมครั้งละ 1,900 บาท และหากอยู่เกินกำหนดระยะเวลาอนุญาตจะต้องถูกดำเนินคดีตาม กฎหมาย และมีหน้าที่จะต้องรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองทุก ๆ เก้าสิบวัน เช่นเดียวกับคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในประเทศไทย ซึ่งจากระเบียบและแนวทางที่ปฏิบัติดังกล่าว เมื่อศึกษากฎหมายไทยแล้วพบว่า การปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งที่เกิดจากการใช้บังคับกฎหมายที่ไม่ ถูกต้อง เนื่องจาก คนไทยสองสัญชาติยังคงมีสัญชาติหนึ่งคือสัญชาติไทย ยังไม่ได้เสียสัญชาติไทยไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3