การศึกษาอิสระ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
113 ตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ สัญชาติ พ.ศ. 2508 หรือ พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ก็ตาม คนไทยสองสัญชาติจึงมิใช่ คนต่างด้าว เนื่องจากคนต่างด้าวนั้นหมายถึงบุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ดังนั้น การปฏิบัติของ เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองที่นำพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาใช้บังคับแก่คนสอง สัญชาติซึ่งใช้หนังสือเดินทางต่างชาติเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเวลา พำนักให้อยู่ในประเทศไทยอย่างจำกัด การให้ต้องเสียค่าธรรมเนียมขออยู่ต่อในราชอาณาจักรเพื่อ ขยายระยะเวลาพำนัก การให้คนสองสัญชาติรายงานตัวกรณีอยู่ในราชอาณาจักรเกินกว่าเก้าสิบวัน และทุก ๆ เก้าสิบวันเหมือนดั่งเช่นคนต่างด้าว รวมทั้งการดำเนินคดีในฐานความผิด เป็นคนต่างด้าว อยู่ในราชอาณาจักรโดยการอนุญาตสิ้นสุดนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจาก บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในเรื่องดังกล่าวนั้นเป็นการบังคับใช้แก่คนต่าง ด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงคนไทยสองสัญชาติซึ่งยังคงมี สัญชาติไทยเพียงเพราะแสดงหนังสือเดินทางต่างชาติต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองในขณะเดิน ทางเข้ามาในประเทศไทย ผู้วิจัยมีความเห็นว่า การปฏิบัติของเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองต่อคนสอง สัญชาติในปัจจุบันนี้มีความไม่ถูกต้อง ทั้งนี้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลพบว่าเจ้าพนักงานตรวจคนเข้า เมืองและนักวิชาการยังคงเห็นว่าการควบคุมคนสองสัญชาตินั้นยังคงมีความจำเป็น แต่ด้วยการใช้ บังคับกฎหมายคนเข้าเมืองต่อคนสองสัญชาติในปัจจุบันนั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้นำเอาแนวคิด ในการจัดการเก็บรวบรวมข้อมูลคนสองสัญชาติให้ปรากฏดังเช่นกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซียที่ได้ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายสัญชาติของตนโดยกำหนดให้พลเมืองรัสเซียทุกคนที่ถือสัญชาติอื่นร่วมด้วย จะต้องประกาศสัญชาติที่สองต่อทางการและกำหนดโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนไม่แจ้งข้อมูลต่อทางการ เพื่อ ป้องกันปัญหาบุคคลสองสัญชาติกระทำการอันก่อให้เกิดความแตกแยกหรือภัยคุกคามขึ้นในรัสเซีย โดยผู้วิจัยสามารถอภิปรายผลการวิจัยในข้อต่อไปนี้ 5.2 อภิปรายผล 5.2.1. กฎหมายที่บังคับใช้และแนวปฏิบัติมีความขัดแย้งกันเอง จากการศึกษาพบว่า การปฏิบัติเกี่ยวกับคนไทยสองสัญชาติกรณีใช้หนังสือเดินทางต่างชาติ เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น มีแนวปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายที่บังคับใช้ คือ พระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 สามารถจำแนกได้ ดังนี้ 1. หนังสือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการตรวจอนุญาตให้ บุคคลเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร กรณีบุคคลถือหนังสือเดินทางร่วมหรือถือหนังสือเดินทาง 2 เล่ม ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2552 ซึ่งมีใจความให้เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองซึ่งตรวจพบคนไทย สองสัญชาติเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักร ให้ตรวจอนุญาตในหนังสือเดินทางเล่มสัญชาติที่ใช้
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3